มนุษย์ทุกคนย่อมมีความฝัน แต่ทว่ามันก็ไม่ใช่ซะทุกคนที่สามารถจะไปถึงฝันได้ ซึ่งในวงการกีฬาเองก็เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นการแข่งขันกีฬาผ่านหน้าจอทีวีกันอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแข่งขันกีฬาของบรรดาเหล่าผู้เล่นตัวจริง ที่มีฝีมือโดดเด่น และ ความสามารถค่อนข้างที่จะครบเครื่อง ซึ่งแท้จริงแล้วนอกจากลีกหลักที่ทำการแข่งขันผ่านหน้าจอทีวีให้เราได้ดูอยู่กันเป็นประจำแล้ว มันยังมีอีกลีกหนึ่งซึ่งเราจะเรียกล่าลีกรอง ซึ่งลีกนี้จะเป็นลีกใช้บรรดาเหล่าผู้เล่นที่มีฝีมือ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ของลีกหลักมาทำการแข่งขัน และแน่นอนว่ากีฬาอย่างบาสเกตบอล NBA เองก็มีสิ่งที่เรียกว่าลีกรองเช่นกัน โดยลีกรองของบาสเกตบอล NBA นั้นจะมีชื่อว่า G LEAGUE
โดยในหลาย ๆ บทความของเรานั้นได้เคยเล่าถึงเรื่องราว และ ประวัติความเป็นมาของลีกรองอย่าง G LEAGUE ให้หลาย ๆ คนได้ลองทราบข้อมูลกันบ้างแล้ว ซึ่งถ้าใครยังไม่ค่อยเข้าใจระบบการแข่งขัน หรือ ความเป็นมาของ G LEAGUE คุณก็สามารถที่จะย้อนกลับไปอ่านบทความเก่า ๆ ที่เราเคยนำเสนอเอาไว้ได้ ส่วนในบทความนี้ เราจะเล่า และ วิเคราะห์ถึงความแตกต่างของ
G LEAGUE ที่แม้ว่าจะเป็นลีกรองของลีกบาสที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก แต่ทว่าฝีมือของผู้เล่นกลับห่างชั้นเกินไป
ซึ่งเพราะอะไรทำไม G LEAGUE ถึงไม่สามารถที่จะมาเทียบชั้น NBA นั้น วันนี้เราจะเริ่มมาวิเคราะห์เรื่องราวนั้นกันต่
ซึ่งถ้าหากถามว่า NBA นั้นรู้ไหมว่าจุดอ่อน และ จุดแข็งของ G LEAGUE นั้นคืออะไรแน่นอนแหละว่า ถ้าหามองในแง่ของการพัฒนทักษะของนักกีฬาเพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางเข้าสู่ลีก NBA แล้ว G LEAGUE นั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะหากเรากางตัวเลขของนักกีฬาที่พัฒนาตัวเองจาก G LEAGUE เข้าสู่ลีก NBA นั้น เราจะเห็นได้เลยว่ามันค่อย ๆ มีตัวเลขพุ่งสูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยอ้างอิงจากในปี 2017 ทาง G LEAGUE นั้นมีผู้เล่นถึง 44 เปอร์เซ็นต์ที่ได้เข้าสู่ NBA
ซึ่งแน่นอนแหละว่าในแง่มุมนี้หากมองว่า G LEAGUE คือแง่มุมของลีกที่ใช้สำหรับการพัฒนานั้นมันถือได้ว่า
เป็นความสำเร็จของ NBA แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งนั่นก็คือ ความน่าสนใจ กลับกลายเป็นว่า G LEAGUE นั้นค่อนข้างที่จะเป็นลีกซึ่งจืดจางเป็นอย่างมาก จนทำให้ทาง NBA ก็ได้ประกาศว่าจะหาทางหาสปอนเซอร์หลักเพื่อเข้ามาสนับสนุนลีกแห่งนี้ให้ได้ จนกระทั่งสุดท้ายแล้วก็ได้ Gatorade เข้ามาสนับสนุนจนถึงปัจจุบัน
โดยสิ่งแรกที่ G LEAGUE เริ่มเดินหน้าทำเพื่อให้การแข่งขันนั้นมีความน่าสนใจก็คือ การเปิดโอกาสให้บรรดาเหล่านักกีฬาเยาวชนที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ดราฟต์ สามารถเข้ามาแข่งขันในลีกอาชีพแบบนี้ได้เลย โดยสัญญาที่ถูกเซ็นนี้จะถูกเรียกว่า สัญญาเฉพาะ โดยมันจะมีการการันตีรายได้เป็นเงินจำนวนสูงถึง 125,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อฤดูกาล หรือราว 4.5 ล้านบาท
ซึ่งถ้าใครได้อ่านเรื่องของเงินเดือนเริ่มแรกของบรรดาเหล่าผู้เล่นใน G LEAGUE ไปแล้วคุณจะพบว่าตัวเลขฐานเงินเดือนนั้นค่อนข้างที่จะกระโดดจากเดิมที่อยู่เพียงแค่หลักหมื่นไปมากพอสมควรเลย ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ G LEAGUE นั้นถูกพูดถึงมากถึง แต่สิ่งที่ทำให้ตัวของ G LEAGUE นั้นถูกพูดถึงมากขึ้นไปกว่าเดิมนั่นก็คือ การเปิดโอกาสให้บรรดาเหล่านักบาสที่อายุ 18 ปี ได้มาลงเล่นกันแบบเต็มที่ในลีกอาชีพเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่การดราฟต์ในปีถึดไปนั่นเอง มันจึงทำให้บรรดาเหล่านักบาสที่มีฝีมือในระดับมหาวิทยาลัยที่สามารถทำผลงานได้ดีมีแฟนคลับมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการช่วยลุ้นให้กำลังใจว่าพวกขาสามารถทำผลงานได้ดีขนาดไหนในลีกอาชีพ
ซึ่งการปรังส่วนตัวนี้ของ G LEAGUE ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงที่ถูกจุด และ ยกระดับความน่าสนใจ
ของลีกนี้ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะว่าทาง G LEAGUE เองก็เห็นอยู่แล้วว่าแท้จริงแล้วลีกของพวกเขานั้นมีจุดขายอยู่ที่ผู้เล่นรายบุคคล ดังนั้นการที่จะเลือกผู้เล่นซุปเปอร์สตาร์รุ่นเล็กเข้ามาสู่ทีม มันก็จะเป็นการดึงดูดแฟนบาสที่สนใจเหล่าผู้เล่นเหล่านี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วได้นั่นเอง
มันจึงทำให้ดีกว่าการนำเม็ดเงินที่มีไปพัฒนาทั้งระบบที่ต้องใช้งบประมาณ และ เวลามากกว่า
ดังนั้นการอัดฉีดเงินให้เป็นรายบุคคลของ G LEAGUE จึงเป็นทางที่ NBA เลือกใช้เพื่อที่จะทำให้ลีกรองของตัวเองมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยในปัจจุบันผู้เล่นในลีกของ G LEAGUE นั้นเริ่มได้มีการขยับฐานเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็น35,000 ดอลลาร์สหรัฐบวกกับค่าที่อยู่อาศัยและค่าประกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเร่งให้บรรดาเหล่านักกีฬาใน G LEAGUE ตั้งใจโชว์ฟอร์มมากยิ่งขึ้น แถมยังมีเงื่อนไขอย่างการที่ผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวขึ้นสู่ NBA จะได้รับเงินพิเศษอีก 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.7 ล้านบาท อีกด้วย
อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเอามาก ๆ ของ G LEAGUE นั่นก็คือระบบสัญญาที่เรียกว่า สัญญาสองทาง หรือ Two-Way Contracts โดยสัญญานี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมจาก NBA สามารถที่จะเซ็นกับผู้เล่นสองคนต่อทีมจาก G LEAGUE
โดยผู้เล่นคนนั้นจะถูกดึงตัวไปเล่นใน NBA ทันทีในระยะเวลาไม่เกิน 50 เกม
ซึ่งมันเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นคนนั้น ๆ ได้รับเงินในฐานะผู้เล่นรุกกี้ของ NBA ตามเวที่เขาเล่นอยู่ในลีก NBA นอกจานั้นแล้วทาง NBA ยังได่มีการก่อตั้งทีมพิเศษที่ชื่อว่า NBA G League Ignite ซึ่งทีมนี้จะเป็นทีมที่รวมเอาบรรดาเหล่านักบาสเกตบอลดาวรุ่งที่ปฏิเสธที่จะเข้าลีกมหาวิทยาลัยตามปกติ แต่เลือกที่จะเดินทางลัดเข้ามาสู่ลีกอาชีพเลยนั่นเอง
โดย NBA G LEAGUE Ignite นั้นจะมีจุดเด่นอยู่ที่การนำเสนอค่าเหนื่อยมากสุดถึง 5 แสนดอลล่าร ซึ่งหนึ่งคนที่เข้าสู่โปรแกรมหนึ่งปีกับทีมเพื่อรับเงินจำนี้คือชายที่ชื่อว่า จาเลน กรีน ดาวรุ่งตำแหน่งชูตติ้งการ์ด ที่ปัจจุบันถูกดราฟต์เข้าสู่ทีม ฮิวส์ตัน ร็อคเก็ตส์ ไปเป็นที่เรียบร้อย รวมถึงยังมี โจนาธาน คูมิงก้า ที่ถูกตอนนี้ไปได้ดีกับ โกลเดน สเตท วอร์ริเออร์ส นั่นเอง
ดังนั้นแล้ว G LEAGUE จึงยังคงเป็นลีกสำหรับการแข่งขันของคนที่ไม่พร้อมสำหรับเวทีอย่าง NBA อยู่ดี และ เมื่อบวกเข้ากับผู้เล่นแบบอื่น ๆ ที่มีทั้งสัญญาทดลองเล่นของผู้เล่นท้องถิ่น หรือ ผู้เล่นที่ไม่ผ่านการดราฟต์ของลีก มันจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม
G LEAGUE ถึงได้ห่างชั้นกับ NBA มากมายขนาดนี้ dunkswin9