สำหรับคนที่เข้ามาเยี่ยมชมและอ่านข่าวสารของเว็บไซต์เราบ่อย ๆ อยู่แล้วก็คงน่าจะทราบกับดีกว่าบทความของเรานั้นส่วนใหญ่จะพูดถึงบาสเกตบอล NBA ซะเป็นหลัก ซึ่งสาเหตุที่เราพูดถึงบาส NBA อยู่บ่อยครั้ง นั่นก็เพราะว่าลีกนี้ถือได้ว่าเป็นลีกบาสเกตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และ มีความยาวนานมากถึง 70 กว่าปีแล้วด้วนกัน โดยในฤดูกาล 2019 – 2020 สามารถที่จะทำรายได้เข้าสู่มือของตัวเองได้มากถึง 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนหน้านั้น ถือได้ว่าลีก NBA นั้นมีอัตราเติบโตทางธุรกิจมากกว่าเดิมเป็นหลายเท่าตัวเมื่อเทียบบกับ 9 ปีที่แล้ว
ซึ่งนิตยสารที่ชอบเปรียบเทียบเชิงสถติอย่าง นิตยสาร Forbes ยังได้ประเมินคร่าว ๆ
ว่าทีมบาสเกตบอลเหล่าบรรดาทีมทั้ง 30 ทีมที่อยู่ในการแข่งขัน NBA นั้นหากนับเป็นมูลค่าทางธุรกิจตแล้ว จะรวมกันได้มากเป็นจำนวนถึง 2 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
แต่ถึงแม้ว่าตัวเลขในปัจจุบันจะมียอดที่สูงจนหน้าตกใจ แต่ทว่าแท้จริงแล้วกว่าลีกบาสเกตบอลอย่าง NBA จะมายืนที่จุดนี้ได้มันกลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแม้แต่นิดเดียว
แม้ว่าหลาย ๆ คนอาจจะดู NBA มานาน แต่หลาย ๆ คนก็อาจจะไม่รู้ว่า แท้จริงแล้วลีกนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า National Basketball Association โดยลีกนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1949 โดยเป็นการรวมตัวระหว่างลีกของอเมริกา 2 ลีกด้วยกันนั่นก็คือ ลีก Basketball Association of America หรือ BAA ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 และลีก National Basketball League หรือ NBL ที่ก่อตั้งในปี 1937
โดยในช่วงเริ่มต้นนั้นทางลีก NBA เองก็ยังไม่ได้ความนิยมเท่าที่หลาย ๆ คนเห็นในปัจจุบันนี้ เพราะว่าในตอนนั้นพวกเขามีทีมที่ลงเล่นอยู่ในลีกเพียงแค่ 8 ทีมเท่านั้น ดังนั้นมันจึงทำให้พวกเขาจำเป็นที่จะต้องสร้างจุดสนใจให้มากขึ้น โดยสิ่งแรกที่ทางลีก NBA ตัดสินใจทำเลยนั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงกฏกติกาการแข่งขันเสียใหม่ โดยมีการเพิ่มการทำคะแนนแบบ 3 แต้มลงไป
ซึ่งการเพิ่มการเล่นแบบ 3 คะแนนเข้าไปนี้เองที่มันสร้างสีสันให้การการเล่นได้มากอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
นอกนั้นแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ทาง NBA เพิ่มเข้ามานั่นก็คือระบบ Shot Clock ที่จะทำให้บรรดาทีมที่ครอบครองบอลแต่ละฝั่งมีเวลาเล่นได้ไม่เกิน 24 วินาที ซึ่งระบบนี้เองที่ทำให้เกมการแข่งขันนั้นมีความรวดเร็ว และ ยังกลายเป็นการกระตุ้นให้บรรดาแต่ละทีมต้องเดินหน้าแข่งกันทำแต้มอยู่ตลอดเวลา และมันยังส่งผลให้บรรดาเหล่าคนดูได้ลุ้น และ ตื่นเต้นไปกับเกมการแข่งขันอีกด้วย
อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ลีก NBA แตกต่างจากกีฬาอื่นนั่นก็คือระบบโครงสร้างของลีก เพราะว่าทางลีกนั้นสามารถสร้างความมั่นคงให้กับเหล่าทีมต่างได้ค่อนข้างมาก รวมถึงยังมีการลดความได้เปรียบ เสียเปรียบ ที่ค่อนข้างเป็นผล ยกตัวอย่างเช่นระบบการดราฟต์ที่จะช่วยให้ทีมที่ทำผลงานได้ไม่ดีมีสิทธิที่จะคว้าตัวนักกีฬาระดับสตาร์ ได้ก่อนทีมที่มีผลงานดีอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วนั่นเอง แถมสิทธิดราฟต์ที่แต่ละทีมได้มากนั้นยังสามารกลายเป็นสิ่งที่แต่ละทีมสามารถเอาสิทธินี้มาเป็นเครื่องมือในการเจรจาระหว่างทีมได้อีกด้วย
เท่านั้นยังไม่พอ เพราะว่าทางลีก NBA ยังรักษาสมดุลของเรื่องการใช้งบประมาณด้วยการกำหนดเพดานค่าเหนื่อยของนักกีฬาแต่ละทีม ซึ่งมันทำให้บรรดาเหล่าทีมต่าง ๆ ใน NBA มีเพนดาสำหรับค่าจ้างที่จะจ่ายให้แก่นักกีฬาเท่ากัน และหากทีมไหนที่จะยอมจ่ายเกินกว่าเพนดานค่าจ้างที่ทางลีก NBA กำหนด พวกเขาก็จะต้องเจอกับกำแพงภาษีในอัตราที่สูงมาก ๆ มันจึงทำให้ระบบนี้เปรียบเสมือนกับการป้องกันไม่ให้แต่ละทีมซื้อบรรดาเหล่าสตาร์ไปกระจุกรวมตัวกันอยู่ที่เดียวนั่นเอง
อีกหนึ่งระบบที่ทำให้ลีก NBA สามารถมีเงินทุนได้อย่างมหาศาลแบบนี้นั่นก็เพราะว่าในลีกจะมีระบบกคำณวนรายได้มวลรวมของลีกนั่นเอง ซึ่งมันจะเป็นการกระจายรายได้ของแต่ละทีม โดยทุก ๆ ทีมจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมารวมกัน เพื่อเฉลี่ยไปยังทีมอื่นให้เท่า ๆ กัน เพื่อเป็นการปรับช่องว่างรายได้ของทีมขนาดใหญ่ และ ทีมขนาดล็กนั่นเอง
โดยถ้าเราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพนั่นก็คือ ทีมอย่าง LA Lakers ที่มีตั้งอยู่ในมหานครลอสแอนเจอลิส
ซึ่งมีประชากรหนาแน่นกว่า 4.0 ล้านคน กับทีมอย่าง Phoenix Suns ที่อยู่ในเมืองฟีนิกซ์ ซึ่งมีประชากรเพียง 1.6 ล้านคน ซึ่งแน่นอนแหละว่าจำนวนฐานประชากรของทั้งทีมนี้ห่างกันมาก และ แน่นอนว่ามันย่อมส่งผลถึงภาพรวมเศรษฐิกิจของทีมอยู่แล้ว แต่ระบบนี้ของ NBA จะทำให้ทีมที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่งจากทีมที่มีรายได้สูงกว่าเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ทีมขนาดเล็กเองก็ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้เฉลี่ยที่แบ่งกัน จึงจะสามารถรับส่วนแบ่งนี้ได้แบบเต็มอัตรา มันเลยกลายเป็นว่าเหล่าบรรดาทีมเล็ก ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องปรับปรุง และ พัฒราทีมอยู่ตลอดเวลาไปด้วยเช่นกัน
และเมื่อองค์ประกอบทุกอย่างมันสามารถทำออกมาได้อย่างลงตัว มันเลยทำให้ความนิยมและรายได้ของ NBA ดีดสูงขึ้นตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แถมทางลีก NBA เองก็ยังถือได้ว่ามีการเดินเกมที่ฉลาดในการเปิดช่องทางหารายได้ เพราะว่าพวกเขากระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้เพียงไม่กี่ช่องทาง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่องทางหลัก โดยช่องทางแรกก็คือ ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
ซึ่งรายได้ส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของ NBA เลยทีเดีย โดยในปี 2016 ทางลีกได้มีการเซ็นสัญญากับสื่อยักษ์ใหญ่ของอเมริกาอย่าง ESPN และ Turner Sports ด้วยสัญญา 9 ปี เป็นมูลค่าถึง 720,000 ล้านบาท หรือถ้าให้เฉลี่ยต่อปีก็จะตกอยู่ที่ประมาณปีละ 80,000 ล้านบาท นอกจากนั้นแล้วทาง NBAยังมีระบบสตรีมมิงที่ชื่อว่า NBA League Pass ซึ่งมันจะช่วยให้ผู้ชม
สามารถติดตามเกมการแข่งขันได้แบบไม่มีพลาด โดยสามารถซื้อได้ทั้งรายสัปดาห์ รายเดือน หรือ รายปี เลยที่เดียว
อีกหนึ่งที่มาของรายได้นั่นก็คือ ลิขสิทธิ์สินค้า และ การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ซึ่งแม้ว่ามันจะไม่ได้มีสัดส่วนที่มากเท่ากับรายได้จากอันแรก แต่ทว่าก็มีสินค้ามากมายหลากหลายแบรนด์ที่พร้อมจะเข้ามาร่วมลงทุนกับ NBA ยกตัวอย่างเช่นการซื้อป้ายโฆษณาบนเสื้อนักกีฬาที่แม้ว่ามันจะมีขนาดเล็กเอามา ๆ แต่การซื้อโหษณาตรงนั้นกลับทำรายได้ให้กับทาง NBA ได้มากถึง
กว่า 4,500 ล้านบาท ยกตัวอย่างเช่น Rakuten แบรนด์ E-commerce จากญี่ปุ่น ที่ยอมจ่ายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
ให้กับทีม Golden State Warriors เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อดังกล่าว
รายได้หลักอันที่ 3 นั้นมาจากตั๋วเข้าชมในสนามที่ในปัจจุบันนี้เริ่มลดน้อยลงเนื่องจากผู้ชมเริ่มสามารถรับชมเกมการแข่งขัน NBA ได้ผ่านทางออนไลน์แล้วนั่นเอง ส่วนรายหลักที่ 4 ก็คือรายได้จากที่มาจากการเข้าไปทำตลาดในต่างประเทศนั่นเอง
ซึ่งสาเหตเหล่านี้นี่เองทีมันได้สร้างให้ NBA กลายเป็นโมเดลอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารประสบความสำเร็จมาได้จนถึงทุกวันนี้นี่เอง dunkswin9