เข้าใจพื้นฐานของวงการ NBA กับเรื่องราวของการซื้อขายผู้เล่น

บาส

อีกสิ่งหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นสีสันของโลกการแข่งขันกีฬานั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่าตลาดการซื้อขายผู้เล่นนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าแหละแต่ละทีมเองก็ย่อมที่จะต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถพอที่จะพาให้ทีมของตัวเองขึ้นไปอยู่ในทำเนียบของแชมป์เปี้ยนได้สักครั้งอยู่แล้ว จึงทำให้ในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตลาดการซื้อขายผู้เล่นของแต่ละทีมนั้นกลายเป็นอะไรที่บรรดาเหล่าแฟน ๆ ของแต่ละทีมเองก็เฝ้าจับตามองสถานการณ์เหล่านี้ไม่ห่างเช่นกัน แต่ทว่าหากใครที่ยังไม่เคยดูกีฬาอย่างบาสNBAมาก่อน พอมาอ่านข่าวการย้ายทีมของผู้เล่นนั้น อาจจะทำให้พวกเขาค่อนข้างงงได้ เนื่องจากบาสNBAนั่นค่อนข้างที่จะมีกติกาการย้ายตัวของผู้เล่นที่แตกต่างกับกีฬาฟุตบอลอย่างที่หลาย ๆ คนคุ้นชินกันอยู่พอสมควร

ดังนั้นในครั้งนี้เราจึงจะขอพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่องขั้นพื้นฐานก่อน

ที่คุณจะได้เริ่มสนุกกับกีฬาอย่างบาสNBAกัน แต่ก่อนหน้าที่เริ่มอ่านบทความนี้ เราเคยทำเนื้อเรื่องที่อธิบายถึงกฎต่าง ๆ เกี่ยวกับการดราฟต์ที่เกิดขึ้นในวงการบาสNBAกันไปแล้ว ซึ่งคุณสามารถย้อนกลับไปอ่านเพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวนั้นเอาไว้ก่อนได้ 

ส่วนใครที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการดราฟต์ตัวของบาสNBAกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาเรียนรู้กันต่อ โดยระบบที่เราจะแนะนำให้คุณได้เรียนรู้ต่อการดราฟต์นั่นก็คือระบบที่เรียกว่าการ Trade นั่นเอง

NBA Trade Deadline: 11 Teams That Could Be Sellers - The Ringer

โดยการ Trade ในบาสNBAนั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสิรมทัพ โดยการเทรดในที่นี้จะหมายถึง การดึงเอาผู้เล่นที่มีสัญญาจากทีมอื่นเข้ามาสู่ทีมของตัวเอง โดยเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในเการเทรดนั้นจมีค่อนข้างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

การดึงเอาผู้เล่นที่มีมูลค่าสัญญาใกล้ ๆ กันแลกตัวกัน หรือ ถ้าหากมูลค่าสัญญาไม่ใกล้เคียงกัน

ทางทีมจะต้องรวมสิทธิ์ต่าง ๆ ให้มีมูลค่าใกล้เคียงกับตัวผู้เล่นที่ตนเองจะเลือกเทรด ซึ่งกรณีที่เราเห็นบ่อย ๆ มักจะเป็นการเอาผู้เล่นหลาย ๆ คนมัดรวมไปแลก หรือ การเอาสิทธิ์ดราฟต์ไปแลกนั่นเอง

ซึ่งการเทรดในบาสNBAโดยการเอาสิทธิดราฟต์ไปแลกนั้น จะเป็นในกรณีของการเอาสิทธิ์ดราฟต์ล่วงหน้าของทีมไปแลก โดยบางครั้งสิทธิ์ดราฟต์ที่เอาไปแรกอาจจะไม่ใช่แค่รายปี แต่อาจจะเอาสิทธิ์ดราฟต์หลาย ๆ ปีไปแลกเลยก็ได้  ซึ่งแน่นอนแหละว่าทางฝ่ายที่เจรจาสัญญาด้วยจะต้องเป็นคนไปวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการได้สิทธิ์ดราฟนั้นเอาเอง 

นอกจากนั้นแล้วในบาสNBAก็ยังมีกรณีของการทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกันนั่นก็คือ การเอาตัวผู้เล่นไปแลก และ บวกสิทธิ์ดราฟต์ของทีมนั้นให้ไปอีกด้วย

แต่ก็ใช้ว่าในสังเวียนบาสNBAทีมไหนอยากเทรดใครก็เทรนดได้ เพราะว่าการเทรดนั้นจำเป็นที่จะต้องดูมูลค่าของ Salary Cap หรือกำแพงภาษีของแต่ละทีมที่เหลืออยู่ประกอบ โดยถ้าหลังจากการทำการเทรดแล้ว มีทีมใดทีมหนึ่งที่มียอด Salary Cap เกิน ทีม ๆ นั้นจะต้องถูกกฎบางอย่างควบคุม ก่อนที่จะทำการเทรดได้อีกครั้ง ส่วนสำหรับผู้เล่นที่กำลังจะหมดสัญญาหลังจบฤดูกาลในปีนั้นทางทีมต้นสังกัดก็ยังสามารถที่จะเทรดผู้เล่นคนนี้ได้อยู่ โดยการเทรดในครั้งนี้จะถูกเรียกว่าSign-and-Trades

นอกจากนั้นบรรดาเหล่าทีมบาสNBAที่มีสัญญาผู้เล่นปีสุดท้ายก่อนจะจบฤดูกาล

สามารถที่ทำการขยายสัญญาให้กับผู้เล่นคนนั้น ๆ ได้ก่อนที่จะทำการเทรดออกไป โดยการทำลักษณะนี้จะเป็นการทำให้มูลค่าของสัญญานั้นใกล้เคียงกับของอีกฝ่ายมากขึ้น โดยเราจะเรียกการเทรดแบบนี้ว่า Extension-and-Trades โดยการเทรดแบบนี้มันจะเป็นการช่วยให้ทีมไม่ต้องเสียผู้เล่นไปแบบเป็น Free Agency และไม่ได้รับอะไรตอบแทนกลับมาเลย แต่ทว่าการเทรดแบบ Extension-and-Trades นี้ก็มีกฏข้อบังคับบางอย่างอยู่เช่นกัน

โดยกฎข้อนั้นก็คือ ผู้เล่นที่มีข้อตกลงในการถูกเทรดนั้นจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธการย้ายทีมได้ ยกเว้นแต่ว่าเขาจะมีออฟชั่นบางอย่างระบุเอาไว้ในสัญญาของเขา แถมการเทรดแบบนี้ในบางกรณีก็ยังเกิดขึ้นกับทีมบาสNBAได้มากกว่า 2 ทีม โดยกรณีนั้นจะเป็นอะไรที่คนเพิ่งมาดูใหม่จะค่อนข้างงงพอสมควรโดยเราจะขออธิบายให้เข้าใจดังนี้

NBA trade grades: Timberwolves acquire Rudy Gobert in blockbuster deal with  Jazz | Sporting News Australia

สมุมิตว่าทีมบาสNBAทีม A ต้องการผู้เล่นจากทีม B โดยทางทีม A ได้เสนอเทรดผู้เล่นคนหนึ่งไปให้กับทีม B แต่ทว่าทางทีม B กลับไม่สนใจผู้เล่นที่ทางทีม A เสนอมาให้ แถมเมื่อมองภาพรวมแล้วตัวของทีม B กลับไม่ได้ผู้เล่นคนไหนของทีม A เลยแม้แต่คนเดียว แต่ทว่าดีลนี้กลับยังไม่ล่ม เพราะว่าทางทีม B นั้นได้ยื่นข้อเสนอในการให้ทีม A เอาสิทธิ์ดราฟต์มาแลก แต่ทว่าทีม A นั้นกลับไม่มีสิทธิ์ดราฟต์ดังกล่าว ดังนั้นจึงทำให้ทีม A หันไปเจรจากับทีม C ซึ่งมีความประสงค์ที่จะเทรดกับผู้เล่นกับทีม A อยู่แล้วให้แถมสิทธิ์ดราฟต์มาให้ตนเอง เพื่อนำไปให้กับทีม B นั่นเอง 

เข้าใจพื้นฐานของวงการ NBA กับเรื่องราวของการซื้อขายผู้เล่น1

อีกหนึ่งการเทรดที่ค่อนข้างสำคัญเป็นอย่างมากในบาสNBAนั่นก็คือการเซ็นกับผู้เล่นในตลาด Free Agency แต่ก็ใช่ว่าทุกทีมนั้นสามารถที่จะดึงผู้เล่นที่เป็น Free Agency ได้ง่าย ๆ เพราะว่ามีกฎบางอย่างอยู่ โดยหลัก ๆ แล้วผู้เล่นที่หมดสัญญากับต้นสังกัดนั้นจะถูกตีให้เข้าสู่ตลาด Free Agency นอกจากนั้นยังรวมไปถึงผู้เล่นที่ไม่ถูกดราฟต์เองก็ด้วยเช่นกัน โดยผู้เล่นที่อยู่ในตลาดนี้จะมีสถานะอยู่ 2 แบบด้วยกันนั่นก็คือ  RFA และ UFA 

โดย RFA นั้นจะย่อมาจาก Restricted Free Agent โดยผู้เล่นที่อยู่ในสถานะนี้ก็คือ

ผู้เล่นที่สามารถหาสังกัดใหม่ และ ตกลงสัญญาฉบับใหม่กับทีบาสNBAทีมไหนก็ได้ แต่หลังจากที่มีทีมใหม่ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการมาแล้ว ทีมเก่าในสังกัดของผู้เล่นคนนั้นจะมีช่วงเวลาประมาณ 3 ในการเสนอสัญญาให้กับผู้เล่นเก่าของตนให้เท่ากับค่าจ้างที่มีทีมใหม่เสนอมาซึ่งการกระทำนี้จะเรียกว่า Match Off ซึ่งถ้าทีมในสังกัดเดิมทำการ Match Off มา ผู้เล่นที่อยู่ในสถานะ RFA จะต้องอยู่กับทีมเดิมต่อไป

ส่วนสถานะ UFA หรือ ย่อมาจาก Unrestricted Free Agent คือ ผู้เล่นสามารถหาสังกัดและเซ็นสัญญาใหม่กับทีมบาสNBA

ทีมไหนก็ได้ทันที โดยมีเงื่อนไขใด ๆ มาผูกมัด

NBA free agency: 7 most likely players to be traded in 2022 offseason, from  John Collins to Dejounte Murray | Sporting News

ซึ่งการที่กฏแบบนี้ขึ้นทำให้บรรดาเหล่าทีมบาสNBAเองก็ต้องมานั่งวิเคราะห์กันว่าผู้เล่นที่อยู่ในตลาดของ Free Agency นั้นเป็นผู้เล่นแบบ RFA หรือ UFA และมันทำให้บรรดาเหล่าทีมบาสNBAแต่ละทีมต้องมาพิจารณาล่วงหน้าก่อนด้วยว่าผู้เล่นในสังกัดของตัวมีออฟชั่นสัญญาอย่างไร และ สุดท้ายแล้วแบบว่าปล่อยเป็น Free Agency นั้นจะใช้ประกาศแบบไหนนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วเรื่องของสัญญาแบบ RFA และ UFA มีส่วนเกี่ยวข้องกับออฟชั่นสัญญา 2 แบบนั่นก็คือ Team Option และ Player Option โดยสัญญานี้จะเป็นสัญญาที่มีผลในปีสุดท้ายของสัญญา เพียงแต่ว่ามันจะแตกกต่างกันตรงที่ Team Option นั้น ทีมจะเป็นผู้เลือกว่าจะเก็บ หรือ ปล่อยผู้เล่นเป็น Free Agency ส่วน Player Option นั่นก็คือผู้เล่นนั้นจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะอยู่ต่อ หรือ ไป นั่นเอง dunkswin9

บาคาร่าออนไลน์

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG

Tag
3 พื้นฐานในการเริ่มเล่นบาสเกตบอล (1) 10 อันดับ รองเท้าบาสเกตบอล (1) Blake Griffin (1) Cameron Payne (1) Chris Paul (1) Deandre Ayton (1) DeMarcus Cousins (1) Devin Booker (1) Dirk Nowitzki (1) Dwyane Wade (1) Giannis Antetokounmpo (1) Gordon Hayward (1) Jae Crowder (1) James Harden (1) Kevin Durant (1) Kevin Garnett (1) Kyrie Irving (1) Lebron James (2) NBA FINAL 2021 (1) Rajon Rondo (1) Space Jam 2 (1) Stephen Curry (1) Steve Nash (1) Tim Duncan (1) Tracy McGrady (1) กติกาพื้นฐานสำหรับกีฬาบาสเกตบอล (1) การเลือกซื้อลูกบาส (1) ขนาดของสนามบาสเกตบอลและแป้นบาส (1) ข่าวบาสเก็ตบอล (130) คนที่เก่งที่สุดใน NBA (1) ความสำคัญของถุงเท้า (1) ทีมพลังหนุ่มที่พร้อมชนทุกทีมใน NBA Season 2021-2022 (1) นักบาส NBA ที่มีการ ปันน้ำใจกลับสู่สังคม (1) ประวัติของรองเท้าบาส (1) ประวัตินักกีฬาบาสเกตบอล (120) ราคาเสื้อบาสของแท้ (1) ราชาแห่งการ DUNK (1) รายได้ของนักกีฬา NBA ในปี 2022 (1) วิธีการฝึกร่างกายเพื่อเป็นนักกีฬา (1) วิธีเลือกซื้อรองเท้าบาสเกตบอล (1) ส่อแววล่ม!! วิบากกรรมของ LA Lakers ในยุคบิ๊กทรี (1) อัลเลน ไอเวอร์สัน (1) แบบฝึกการป้องกัน (1) ได้เวลาคืนความสุข !! กระทิงดุกลับมาแล้ว (1) ไม่ใช่แค่ 1 แต่ถึง 8 กับความพยายามสู่แชมป์ของ เอลกิน เบย์เลอร์ (2)