การจะดูกีฬาอะไรสักอย่างให้สนุกสิ่งทีแรกที่คุณจะต้องมีเลยนั่นก็คือ การเข้าใจเกี่ยวกับกีฬานั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าในตอนแรก ๆ ที่คุณเข้ามาดูกีฬาเหล่านั้นในตอนแรกเอง คุณก็ไม่อาจเข้าใจแบบลึกซึ้งเท่าไหร่นักหรอกว่ากีฬาแต่ละประเภทนั้นมันมีความสนุกอยู่ที่ตรงไหน แต่อย่างน้อยคุยก็น่าจะพอเพลิดเพลินไปกับบรรดาเหล่าผู้เล่นที่มักจะโชว์ฝีไม้ลายมือสุดตื่นตาตื่นใจให้เราได้เห็นอยู่เป็นประจำ และหนึ่งในความฝันของคนเหล่าคนชอบดูกีฬาเอง หลาย ๆ คนก็คงอยากจะเห็นการรวมตัวของผู้เล่นระดับ Top ภายใต้ทีมเดียวกัน ซึ่งถ้าหากเป็นกีฬาอย่างฟุตบอลนั้น มันก็อาจจะเป็นเรื่องยาก และ ไม่ค่อยจะมีให้เห็นกันบ่อย ๆ แต่สำหรับกีฬาอย่างบาส NBA แล้ว ความฝันเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าในการแข่งขัน NBA จะมีเกมการแข่งขันหนึ่งที่เรีนกว่าการแข่งขันแบบ NBA All Star Game
ซึ่งสำหรับคนที่เพิ่งดูบาสใหม่ ๆ เองก็อาจจะไม่ค่อยรู้สึกอันอะไรกันชื่อการแข่งขันอย่าง NBA All Star Game เท่าไหร่นัก แต่สำหรับคนที่ดูบาสมานานแล้ว นี่แหละคือสิ่งที่หลาย ๆ คนต่างรอคอย ดังนั้นเพื่อที่เราจะดึงให้ผู้เล่นใหม่ได้รู้สึกสนใจมากขึ้น เราจะขอพาทุก ๆ มาทำความรู้จักกับอีกหนั่งไฮไลท์สุดยิ่งใหญ่ในวงการบาสอย่าง NBA All Star Game กัน
ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้กันก่อนว่า NBA All Star Game คืออะไร โดยเกม ๆ นี้จะเปรียบเสมือนกับเกมพิเศษประจำฤดูกาล 
ที่จะมีการดึงเอาผู้เล่นที่มีผลงานอันโดดเด่นในขณะนั้น รวมถึงผู้เล่นที่มีชื่อเสียงอย่างยาวนาน และเป็นผู้เล่นที่บรรดาเหล่าแฟน ๆ ชื่นชอบมารวมตัวกัน โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ทีม โดยจุดประสงค์ของการแข่งขันนี้ก็จะไม่ได้มีอะไรมากมายนอกจากจะเป็นการโชว์เพื่อเอนเตอร์เทรน์เป็นการขอบคุณแฟน ๆ นั่นเอง
ซึ่งการจัดการแข่งขัน NBA All Star Game นั้นถูกจัดครั้งแรกในฤดูกาล1950 – 1951 โดยในตอนนั้นจะเป็นการจัดทีมแบบรวมดาราดังของฝั่งตะวันตก มาพบกับ ทีมรวมดาราของฝั่งตะวันออก และในการแข่งขันนั้นจะมีระบบการเลือก All Star MVP หรือก็คือผู้เล่นที่โดดเด่นที่สุดในการแข่งขันนั้นด้วย แม้ว่าตัวระบบการเลือกผู้เล่นเข้าสู่ NBA All Star Game จะมีการเปลี่ยนแปลไปแต่อย่างน้อยสิ่งที่ยังยึดถือกันจนมาถึงปัจจุบันนั่นก็คือ ระบบการเลือกผู้เล่น MVP นั่นเอง ซึ่งหลังจากนั้น NBA All Star Game ก็จะมีการจัดการแข่งขัมาเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี มีเพียงแค่ฤดูกาล 1998 – 1999 เท่านั้นที่ไม่ได้การจัดการแข่งขัน
แต่เพราะว่าช่วงหลังในการแข่งขัน NBA All Star Game นั้นทางทีมฝั่ง West มักจะเอาชนะฝั่ง East ได้อยู่บ่อย ๆ ซึ่งมันบ่อยเกินไปจนทำให้แฟน ๆ เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายและทำให้พวกเขาเริ่มไม่อินกับ NBA All Star Game ทางลีกจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดทีมใหม่ โดยจะเป็นการเลือกกัปตันทีมของแต่ละฝั่งมาตั้งต้น โดยการเลือกนั้นจะคิดจากคะแนนผล Vote สูงสุดของแฟน ๆ จากแต่ละฝั่งทวีปในแต่ละฤดูกาล และหลังกจากนั้นก็จะมีการรวยมผู้เล่นที่เหลือ 22 คนให้อยู่ผลโพลเดียวกัน และให้กัปตันทีมของทั้ง 2 ฝั่งเลือกผู้เล่นของทีมตัวเองจากผลโพลนั้น มันจึงทำให้ไม่เกิดสิ่งที่เรียกว่าการแข่งกันจองฝั่งตะวันออก และ ตะวันตก อีกต่อไป
ซึ่งวิธีการดราฟต์ตัวผู้เล่นใน NBA All Star Game นั้นกัปตันทีมที่มีผลคะแนนโหวตสูงสุด
จะได้ทำการเลือกชุดผู้เล่นตัวจริงก่อน ส่วนทางกัปตันทีมที่มีคะแนนน้อยกว่าจะได้สิทธิในการเลือกตัวสำรองก่อน โดยจะทำการดราฟต์สลับกันไปมาจนครบฝั่งละ 12 คน แถมในเกม NBA All Star Game นี้ยังเปิดโอกาสให้กัปตันทีมของทั้ง 2 ฝั่งสามารถเทรดผู้เล่นกันเองระหว่างทีมได้อีกด้วย ถ้าหากทั้งคู่สามารถตกลงกันได้
หลังจากที่เลือกผู้เล่นกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ตามมานั่นก็คือการเลือกทีมโค้ช โดยทีมโค้ชที่จะได้เข้าสู่ NBA All Star Game นั้นจะเลือกจากโค้ชที่มีผลงานดีที่สุดในแต่ละฝั่งของทวีป แต่ทว่ามันจะกฎพิเศษอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ โค้ชแต่ละคนจะไม่สามารถคุมทีมใน NBA All Star Game ได้ติดกัน 2 ปี แต่ถ้าเกิดติดแบบปีเว้นปีก็ยังสามารถคุมได้แบบปกติ ซึ่งที่มีการตั้งกฏแบบนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าในอดีตเคยมีโค้ชอย่าง Pat Riley ซึ่งเป็นโค้ชของ แอลเอ เลเกอร์ ซึ่งสามารถทำผลงานได้ดีมากตั้งแต่ปี 1982 – 1990 จึงทำให้เขาคนนี้ได้กลายเป็นโค้ชขาประจำในการแข่งขัน NBA All Star Game ฝั่งตะวักตกไปโดยปริยายถึง 9 ฤดูกาลรวด จึงทำให้ต้องสร้างกฎนี้ขึ้นเพื่อที่จะให้เราได้เห็นผลงานคุมทีมของโค้ชหน้าใหม่ ๆ บ้างนั่นเอง
และอย่างที่เราบอกว่าการแข่งขัน NBA All Star Game นั้นจะมีทีมผู้เล่นแบ่งออกเป็น 2 ชุดนั่นก็คือ ผู้เล่นตัวจริง และ ตัวสำรอง แต่นอกเหนือจากนั้นจะมีผู้เล่นอีกชุดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกจัดอยู่โพลดังกล่าว โดนผู้เล่นเหล่านั้นก็ผู้เล่นทดแทน โดยจะถูกนำมาใช้ในการณที่ผู้เล่น 2 ชุดแรกเกินอาการบาดเจ็บจนต้องถอนตัวออกจากเกม NBA All Star Game รวมถึงยังมีกรณีในการแต่งตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย
ส่วนการโหวตของผู้เล่นตัวจริง ๆ ใน NBA All Star Game นั้นจะถูกเปิดให้เริ่มโหวตในช่วงคริสมาสต์ไปจนถึงปลายเดือนมกราคม โดยการ Vote 1 ครั้งจะต้องเลือกผู้เล่นตำแหน่ง Center + Forward เป็นจำนวน 3 คน และเลือกตำแหน่ง Guard อีก 2 คน ซึ่งโดยปกติแล้ว 1 คนจะสามารถโหวตกี่ครั้งก็ได้ เพียงแค่ถ้าโหวตไปแล้ว คุณจะต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมงก่อนถึงจะเริ่มโหวตได้อีกครั้ง นอกจากนั้นแล้วยังมีกติการพิเศษอย่าง บางวันคะแนนคูณ 2 เท่าอีกด้วย
แต่ก็ใช่ว่าทางลีกจะนับคะแนนจากผู้ชมทางบ้านซะหมด เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วถ้าปล่อยให้ผู้ชมทางบ้านโหวตผู้เล่นที่จะได้มาเล่นในเกม NBA All Star Game นั้นส่วนใหญ่ก็มักจะได้แต่ผู้เล่นหน้าเดิม ๆ ที่มีฐานแฟนคลับสูงอยู่แล้ว ดังนั้นทางลีกจึงได้ปรับมาเป็นการโหวตจากบรรดาผู้เล่นด้วยกัน 25% และบรรดาสื่อมวลชนอีก 25% โดยจะมีกติกาเล็กน้อยว่าห้ามโหวตให้ผู้เล่นทีมในสังกัดตัวเอง
ส่วนผู้เล่นชุดสำรองในเกม NBA All Star Game นั้นจะถูกเลือกจากโหวตของบรรดาเหล่าทีมโค้ช และก็ยังคงไม่มีสิทธิในการเลือกผู้เล่นในทีมที่ตัวเองสังกัดอยู่เหมือนกับชุดตัวจริง ส่วนผู้เล่นพิเศษนั้นทางผู้บริหารสูงสุดในลีกจะเป็นการเลือกเองโดยจะเลือกจากผู้เล่นที่อยู่ฝั่งทวีปเดียวกับกัปตันทีมนั้น ๆ เป็นหลัก รวมถึงยังใส่ผู้เล่นที่ทำชื่อเสียงให้ลีกอย่างยาวนาน หรือ เป็นฤดูกาลสุดท้ายของผู้เล่นเหล่านั้นมาได้อีกด้วย
แต่ทว่าเรื่องราวของค่ำคืนของ NBA All Star Game ยังไม่หมดเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องราวมันจะดำเนินต่อไปอย่างไร เอาไว้เรามาติดตามกันต่อในบทความหน้า ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ