อีกสิ่งหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นสีสันของโลกการแข่งขันกีฬานั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่าตลาดการซื้อขายผู้เล่นนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าแหละแต่ละทีมเองก็ย่อมที่จะต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถพอที่จะพาให้ทีมของตัวเองขึ้นไปอยู่ในทำเนียบของแชมป์เปี้ยนได้สักครั้งอยู่แล้ว จึงทำให้ในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตลาดการซื้อขายผู้เล่นของแต่ละทีมนั้นกลายเป็นอะไรที่บรรดาเหล่าแฟน ๆ ของแต่ละทีมเองก็เฝ้าจับตามองสถานการณ์เหล่านี้ไม่ห่างเช่นกัน แต่ทว่าหากใครที่ยังไม่เคยดูกีฬาอย่างบาสNBAมาก่อน พอมาอ่านข่าวการย้ายทีมของผู้เล่นนั้น อาจจะทำให้พวกเขาค่อนข้างงงได้ เนื่องจากบาสNBAนั่นค่อนข้างที่จะมีกติกาการย้ายตัวของผู้เล่นที่แตกต่างกับกีฬาฟุตบอลอย่างที่หลาย ๆ คนคุ้นชินกันอยู่พอสมควร
ดังนั้นในครั้งนี้เราจึงจะขอพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่องขั้นพื้นฐานก่อน
ที่คุณจะได้เริ่มสนุกกับกีฬาอย่างบาสNBAกัน แต่ก่อนหน้าที่เริ่มอ่านบทความนี้ เราเคยทำเนื้อเรื่องที่อธิบายถึงกฎต่าง ๆ เกี่ยวกับการดราฟต์ที่เกิดขึ้นในวงการบาสNBAกันไปแล้ว ซึ่งคุณสามารถย้อนกลับไปอ่านเพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวนั้นเอาไว้ก่อนได้
ส่วนใครที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการดราฟต์ตัวของบาสNBAกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาเรียนรู้กันต่อ โดยระบบที่เราจะแนะนำให้คุณได้เรียนรู้ต่อการดราฟต์นั่นก็คือระบบที่เรียกว่าการ Trade นั่นเอง
โดยการ Trade ในบาสNBAนั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสิรมทัพ โดยการเทรดในที่นี้จะหมายถึง การดึงเอาผู้เล่นที่มีสัญญาจากทีมอื่นเข้ามาสู่ทีมของตัวเอง โดยเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในเการเทรดนั้นจมีค่อนข้างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น
การดึงเอาผู้เล่นที่มีมูลค่าสัญญาใกล้ ๆ กันแลกตัวกัน หรือ ถ้าหากมูลค่าสัญญาไม่ใกล้เคียงกัน
ทางทีมจะต้องรวมสิทธิ์ต่าง ๆ ให้มีมูลค่าใกล้เคียงกับตัวผู้เล่นที่ตนเองจะเลือกเทรด ซึ่งกรณีที่เราเห็นบ่อย ๆ มักจะเป็นการเอาผู้เล่นหลาย ๆ คนมัดรวมไปแลก หรือ การเอาสิทธิ์ดราฟต์ไปแลกนั่นเอง
ซึ่งการเทรดในบาสNBAโดยการเอาสิทธิดราฟต์ไปแลกนั้น จะเป็นในกรณีของการเอาสิทธิ์ดราฟต์ล่วงหน้าของทีมไปแลก โดยบางครั้งสิทธิ์ดราฟต์ที่เอาไปแรกอาจจะไม่ใช่แค่รายปี แต่อาจจะเอาสิทธิ์ดราฟต์หลาย ๆ ปีไปแลกเลยก็ได้ ซึ่งแน่นอนแหละว่าทางฝ่ายที่เจรจาสัญญาด้วยจะต้องเป็นคนไปวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการได้สิทธิ์ดราฟนั้นเอาเอง
นอกจากนั้นแล้วในบาสNBAก็ยังมีกรณีของการทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกันนั่นก็คือ การเอาตัวผู้เล่นไปแลก และ บวกสิทธิ์ดราฟต์ของทีมนั้นให้ไปอีกด้วย
แต่ก็ใช้ว่าในสังเวียนบาสNBAทีมไหนอยากเทรดใครก็เทรนดได้ เพราะว่าการเทรดนั้นจำเป็นที่จะต้องดูมูลค่าของ Salary Cap หรือกำแพงภาษีของแต่ละทีมที่เหลืออยู่ประกอบ โดยถ้าหลังจากการทำการเทรดแล้ว มีทีมใดทีมหนึ่งที่มียอด Salary Cap เกิน ทีม ๆ นั้นจะต้องถูกกฎบางอย่างควบคุม ก่อนที่จะทำการเทรดได้อีกครั้ง ส่วนสำหรับผู้เล่นที่กำลังจะหมดสัญญาหลังจบฤดูกาลในปีนั้นทางทีมต้นสังกัดก็ยังสามารถที่จะเทรดผู้เล่นคนนี้ได้อยู่ โดยการเทรดในครั้งนี้จะถูกเรียกว่าSign-and-Trades
นอกจากนั้นบรรดาเหล่าทีมบาสNBAที่มีสัญญาผู้เล่นปีสุดท้ายก่อนจะจบฤดูกาล
สามารถที่ทำการขยายสัญญาให้กับผู้เล่นคนนั้น ๆ ได้ก่อนที่จะทำการเทรดออกไป โดยการทำลักษณะนี้จะเป็นการทำให้มูลค่าของสัญญานั้นใกล้เคียงกับของอีกฝ่ายมากขึ้น โดยเราจะเรียกการเทรดแบบนี้ว่า Extension-and-Trades โดยการเทรดแบบนี้มันจะเป็นการช่วยให้ทีมไม่ต้องเสียผู้เล่นไปแบบเป็น Free Agency และไม่ได้รับอะไรตอบแทนกลับมาเลย แต่ทว่าการเทรดแบบ Extension-and-Trades นี้ก็มีกฏข้อบังคับบางอย่างอยู่เช่นกัน
โดยกฎข้อนั้นก็คือ ผู้เล่นที่มีข้อตกลงในการถูกเทรดนั้นจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธการย้ายทีมได้ ยกเว้นแต่ว่าเขาจะมีออฟชั่นบางอย่างระบุเอาไว้ในสัญญาของเขา แถมการเทรดแบบนี้ในบางกรณีก็ยังเกิดขึ้นกับทีมบาสNBAได้มากกว่า 2 ทีม โดยกรณีนั้นจะเป็นอะไรที่คนเพิ่งมาดูใหม่จะค่อนข้างงงพอสมควรโดยเราจะขออธิบายให้เข้าใจดังนี้
สมุมิตว่าทีมบาสNBAทีม A ต้องการผู้เล่นจากทีม B โดยทางทีม A ได้เสนอเทรดผู้เล่นคนหนึ่งไปให้กับทีม B แต่ทว่าทางทีม B กลับไม่สนใจผู้เล่นที่ทางทีม A เสนอมาให้ แถมเมื่อมองภาพรวมแล้วตัวของทีม B กลับไม่ได้ผู้เล่นคนไหนของทีม A เลยแม้แต่คนเดียว แต่ทว่าดีลนี้กลับยังไม่ล่ม เพราะว่าทางทีม B นั้นได้ยื่นข้อเสนอในการให้ทีม A เอาสิทธิ์ดราฟต์มาแลก แต่ทว่าทีม A นั้นกลับไม่มีสิทธิ์ดราฟต์ดังกล่าว ดังนั้นจึงทำให้ทีม A หันไปเจรจากับทีม C ซึ่งมีความประสงค์ที่จะเทรดกับผู้เล่นกับทีม A อยู่แล้วให้แถมสิทธิ์ดราฟต์มาให้ตนเอง เพื่อนำไปให้กับทีม B นั่นเอง
อีกหนึ่งการเทรดที่ค่อนข้างสำคัญเป็นอย่างมากในบาสNBAนั่นก็คือการเซ็นกับผู้เล่นในตลาด Free Agency แต่ก็ใช่ว่าทุกทีมนั้นสามารถที่จะดึงผู้เล่นที่เป็น Free Agency ได้ง่าย ๆ เพราะว่ามีกฎบางอย่างอยู่ โดยหลัก ๆ แล้วผู้เล่นที่หมดสัญญากับต้นสังกัดนั้นจะถูกตีให้เข้าสู่ตลาด Free Agency นอกจากนั้นยังรวมไปถึงผู้เล่นที่ไม่ถูกดราฟต์เองก็ด้วยเช่นกัน โดยผู้เล่นที่อยู่ในตลาดนี้จะมีสถานะอยู่ 2 แบบด้วยกันนั่นก็คือ RFA และ UFA
โดย RFA นั้นจะย่อมาจาก Restricted Free Agent โดยผู้เล่นที่อยู่ในสถานะนี้ก็คือ
ผู้เล่นที่สามารถหาสังกัดใหม่ และ ตกลงสัญญาฉบับใหม่กับทีบาสNBAทีมไหนก็ได้ แต่หลังจากที่มีทีมใหม่ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการมาแล้ว ทีมเก่าในสังกัดของผู้เล่นคนนั้นจะมีช่วงเวลาประมาณ 3 ในการเสนอสัญญาให้กับผู้เล่นเก่าของตนให้เท่ากับค่าจ้างที่มีทีมใหม่เสนอมาซึ่งการกระทำนี้จะเรียกว่า Match Off ซึ่งถ้าทีมในสังกัดเดิมทำการ Match Off มา ผู้เล่นที่อยู่ในสถานะ RFA จะต้องอยู่กับทีมเดิมต่อไป
ส่วนสถานะ UFA หรือ ย่อมาจาก Unrestricted Free Agent คือ ผู้เล่นสามารถหาสังกัดและเซ็นสัญญาใหม่กับทีมบาสNBA
ทีมไหนก็ได้ทันที โดยมีเงื่อนไขใด ๆ มาผูกมัด
ซึ่งการที่กฏแบบนี้ขึ้นทำให้บรรดาเหล่าทีมบาสNBAเองก็ต้องมานั่งวิเคราะห์กันว่าผู้เล่นที่อยู่ในตลาดของ Free Agency นั้นเป็นผู้เล่นแบบ RFA หรือ UFA และมันทำให้บรรดาเหล่าทีมบาสNBAแต่ละทีมต้องมาพิจารณาล่วงหน้าก่อนด้วยว่าผู้เล่นในสังกัดของตัวมีออฟชั่นสัญญาอย่างไร และ สุดท้ายแล้วแบบว่าปล่อยเป็น Free Agency นั้นจะใช้ประกาศแบบไหนนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วเรื่องของสัญญาแบบ RFA และ UFA มีส่วนเกี่ยวข้องกับออฟชั่นสัญญา 2 แบบนั่นก็คือ Team Option และ Player Option โดยสัญญานี้จะเป็นสัญญาที่มีผลในปีสุดท้ายของสัญญา เพียงแต่ว่ามันจะแตกกต่างกันตรงที่ Team Option นั้น ทีมจะเป็นผู้เลือกว่าจะเก็บ หรือ ปล่อยผู้เล่นเป็น Free Agency ส่วน Player Option นั่นก็คือผู้เล่นนั้นจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะอยู่ต่อ หรือ ไป นั่นเอง dunkswin9