ทำไมคุณถึงอยากจะเป็นนักกีฬาอาชีพ ? เราเชื่อว่าคำถามนี้อาจจะมีเกิดขึ้นกับคุณอย่างแน่นอน ถ้าเกิดคุณตั้งใจที่จะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านกีฬาที่จะกลายเป็นผู้เล่นอาชีพให้ได้ ซึ่งคำตอบที่ได้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องเงิน เพราะว่าเราต้องยอมรับกันจริง ๆ บรรดาเหล่านักกีฬาอาชีพในลีกอาชีพค่อนข้างที่จะมีเงินหมุมเวียนให้ใช้ค่อนข้างมาก แต่ทว่าเพราะไอ้เงินทองที่มีเข้ามาอย่างมากมายมหาศาลนี้เอง บางทีเราก็มีตัวอย่างให้เห็นกันมานักต่อนักแล้วว่าหากมีการบริหารจัดการไม่ดีสุดท้ายแล้วไอ้เงินเหล่านั้นก็สามารถที่จะหายไปในพริบตาได้เลยทีเดียว
แต่ทว่ามันกลับมีนักกีฬาคนหนึ่งที่ชื่อว่า จูเนียร์ บริดจ์แมน ที่แม้ว่าเขาจะไม่ได้มีความซุปเปอร์สตาร์ในสนามจน
โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนจำนวนมากก็ตาม
แต่ด้วยทักษะการบริหารรายได้อันชาญฉลาดของเขา ทำให้เขาคนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้มาถึง600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชายคนที่เรากำลังจะกล่าวถึงในครั้งนี้ เขามีชื่อว่า จูเนียร์ บริดจ์แมน
ตัวของ จูเนียร์ บริดจ์แมน นั้นเส้นทางชีวิตเริ่มต้นของเขาก็คล้าย ๆ กับนักบาสเกตบอลคนอื่น ๆ
โดยเขานั้นเติบโตในชุมชมแรงงานในเมือง อีสต์ชิคาโก รัฐอินเดียนา ที่มีฐานะยากจน โดยคุณพ่อ และ คุณปู่ของเขาเป็นเพียงแค่ลูกจ้างในโรงงานทำเหล็ก และ คุณแม่ก็มีอาชีพเป็นเพียงแค่แม่บ้านรับจ้างเท่านั้น
ซึ่งแน่นอนว่าเพราะความยากจนนี้หากเป็นสิ่งที่หลาย ๆ บ้านทำกันนั่นก็คือ การให้ลูกออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำมาหากิน รีบหารายได้มาจุนเจือครอบครัว แต่ทว่าพ่อของ จูเนียร์ บริดจ์แมน เขากลับไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะทางคุณพ่อของเขามองเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก และเขาต้องการที่จะให้ลูกชายของเขาไปได้ไกลกว่าการเป็นพนักงานในโรงเหล็กเหมือนดั่งเขา
และฟอร์มการเล่นในสมัยโรงเรียนที่ไม่ธรรมดาของ นี้เองที่ทำให้ จูเนียร์ บริดจ์แมน ได้รับทุกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์
และตัวของ จูเนียร์ บริดจ์แมน ก็สามารถโชว์ทักษะอันยอดเยี่ยมจนทำให้มหาวิทยาลัยของเขาสามารคว้ารางวัลอันดับที่ 3 ในการแข่งขัน NCAA Division I Basketball Tournament ประจำปี 1975 ได้อีกด้วย
แม้ว่าผลงานของ จูเนียร์ บริดจ์แมน จะถือได้ว่ายอดเยี่ยมเอามากในฐานะนักกีฬา
แต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่สามารถที่จะสร้างความมั่นใจให้กับตัวเขาได้เลย มันจึงทำให้เขาวางแผนที่จะเรียนต่อในด้านสายกฎหมาย แต่ทว่ายังไม่ทันไร เขาก็ได้ทราบข่าวสุดช็อคนั่นก็คือ NBA สนใจเขา
โดยตัวของ จูเนียร์ บริดจ์แมน ได้ถูกดราฟเข้าไปสู่ทีมอย่าง ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส ในฐานะผู้เล่นอันดับที่ 8
ของการดราฟในปี 1975 ก่อนที่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็จะถูกเทรดเข้าไปอยู่กัยทีมอย่าง มิลวอกี บักส์ พร้อม ๆ กับผู้เล่นอีกหลายคนเพื่อแลกผู้เล่นระดับซุปเปอร์สตาร์ของลีกในตอนนั้นอย่าง อับดุล-จับบาร์
แต่ทว่าการไปอยู่กับ บักส์ ในครั้นนี้ที่ได้กลายเป็นจุดเปลี่นของ จูเนียร์ บริดจ์แมน อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าตัวของเขาจะไม่ได้แข็งแกร่งของพอที่จะเบียดระดับผู้เล่นตัวจริง แต่เขาคนนี้คือผู้เล่นคนที่ 6 ของทีม ซึ่งไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนตัวสำรองเมื่อชาย ชื่อของเขาคนนี้จะถูกเรียกใช้งานเป็นอันดับแรก
แต่ก็น่าเสียดายที่ตัวของ จูเนียร์ บริดจ์แมน เองก็ไม่ได้เคยคว้ามแชมป์ใด ๆ ในฐานนักบาส NBA กับทีมเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ทว่าสิ่งที่เขาได้จากแฟน ๆ ของทีมนั่นก็คือ การาเคารพ เพราะด้วยความเป็นคนที่ทุ่มเทมาเกินกว่าที่ผู้เล่นไหนจะเคยทำ มันจึงทำให้เสื้อเบอร์ 2 ที่เขาสวมใส่นั้นถูกรีไทร์เพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา หลังจากที่เขาเลิกเล่นไป
แต่ความเคารพต่อตัว จูเนียร์ บริดจ์แมน ยังไม่ได้มีเพียงแค่เหล่าแฟน ๆ กีฬาเท่านั้น บรรดาผู้เล่นต่าง ๆ ใน NBA ก็ให้ความเคารพเขาเช่นกัน จนทำให้เขาคนนี้ได้ถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสหภาพผู้เล่น NBA ซึ่งการถูกรับเลือกในครั้งนี้นี่เอง ที่ทำให้ทางตัวของ บริดจ์แมน ได้ใช้โอกาสนี้เรียนรู้ด้านการเงิน และ ธุรกิจ รวมถึงเขาคนนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อรองกับเจ้าของทีมต่าง ๆ ถึงเรื่องรายได้ของนักกีฬาในแต่ละทีมอีกด้วย
แต่ถึงแบบนั้น จูเนียร์ บริดจ์แมน ก็พบว่าตำแหน่งนี้มันก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างความมั่นคงมากพอให้กับตัวเขา และ ครอบครัว มันจึงทำให้เขาเริ่มตัดสินใจวางแผนอนาคตหลังจากที่ตัวเองเลิกเล่น ซึ่งสิ่งแรกที่เขามีความสนใจนั่นก็คือ การทำร้านอาหาร Fast Food นั่นเอง
โดยทาง จูเนียร์ บริดจ์แมน นั้นค่อนข้างสนใจร้านอาหารฟาสต์ ฟูด
ชื่อดังเจ้าหนึ่งในอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยร้านนั้นมีชื่อว่า Wendy’s มันจึงทำให้ทาง บริดจ์แมน เริ่มศึกษาโมเดลธุรกิจนี้อย่างตั้งใจ ถึงขนาดที่ว่าเขายอมลงทุนไปทำงานพาร์ท ไทม์ ในช่วงปิดฤดูกาลเพื่อเรียนรู้เลยทีเดียว
และในปี 1987 หลังจากที่ จูเนียร์ บริดจ์แมน ประกาศรีไทร์ออกจากอาชีพนักบาส เขาก็ได้หันมาทำอาชีพด้านประกันภัย แต่ในระหว่างนั้นเขาก็เริ่มทยอยซื้อกิจการร้าน Wendy’s ที่เมืองมิววอกี จนทำให้ในปี 1988 เขาเป็นเจ้าของกิจการนี้ไปถึง 5 สาขา ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจร้านถึง 5 สาขานี้เองที่ทำให้เขาตัดสินจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเดินหน้าบริหารธุรกิจนี้เต็มตัว
โดยตอนนั้นต้องยอมรับกันตรง ๆ ว่า ตัว Wendy’s นั้นไม่มีความโดดเด่นอะไร แต่ทว่า จูเนียร์ บริดจ์แมน
กลับไม่คิดอย่างนั้น เขาได้เรียกประชุมพนักงานของเขาก่อนที่จะปลุกใจพนักงานทุกคน เพราะเขาเชื่อว่า ความโดดเด่นของร้านนี้มันอยู่ที่พนักงานของเขาทุกคน หนำซ้ำตัวของบริดจ์แมน ยังดูแลเอาใจใส่พนักงานในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการออกเงินค่าเช่าบ้านล่วงหน้า รวมถึงประกันตัวพนักงานที่ทำผิดกฎหมาย และให้โอกาสทำงานอีกครั้ง
แน่นอนว่าการทำแบบนี้ได้ผล เพราะพนักงานต่างสู้และถวายชีวิตเพื่อ จูเนียร์ บริดจ์แมน จนทำให้ยอดขายของ Wendy’s พุ่งกระฉูด ทำให้เพียงระยะเวลาไม่นาน Wendy’s ของบริดจ์แมนแต่ละสาขา สามารถทำรายได้มากถึง 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งเขาก็ได้นำรายได้ตรงนี้มาทยอยซื้อธุรกิจของ Wendy’s เพิ่มจนทำให้ในปี 2014 เขาถือครองธุรกิจ Wendy’s มาถึง 240 สาขา
แต่นั่นยังไม่ใช่ทางตันของเขา เพราะว่า บริดจ์แมน ยังคงเดินหน้าต่อกับธุรกิจอาหารฟาสต์ฟูด โดยปี 2015 เขาได้ทำการซื้อธุรกิจร้าน Chili’s อีก 125 ร้าน ซึ่งเมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ด้านอาหารแฟรนไชส์ ทำให้ตอนนี้เขาเป็นเจ้าของธุรกิจร้านถึง 450 ร้าน และสามารถทำรายได้ถึง 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2015
แต่ทว่านั่นก็ยังไม่ใช่ปลายทางของเขา เพราะว่าต่อมาในปี 2016 เขาก็ได้ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดธุรกิจใหม่โดยกาตัดสินใจครั้งนี้ มันจึงทำให้ จูเนียร์ บริดจ์แมน ต้องขายธุรกิจร้าน Wendy’s และ Chili’s จำนวนหนึ่ง เพื่อที่จไปลองทำธุรกิจผลิตบรรณจุภัณฑ์ และจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม Coca-Cola ใน 4 รัฐทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการเดินเกมทางธุรกิจครั้งนี้นี่เองที่ส่งผลให้เขากมีมูลค่าทางทรัพย์สินอยู่ที่ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังถือเป็นนักบาสเกตบอลที่มีทรัพย์สินมากที่สุดอันดับ 2 เป็นรองเพียง ไมเคิล จอร์แดน dunkswin9
เครดิต :สล็อตเว็บตรง