หากพูดถึงการแข่งขันกีฬาในแต่ละประเภทนั้นอีกหนึ่งอย่างนอกจากการแข่งขันในสนามนั้น อีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ที่ทำให้บรรดาเหล่าแฟน ๆ นั้นหลงใหลเป็นอย่างมากนั่นก็คือ เสื้อทีม โดยเรามักจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ของที่ระลึกอันดับต้น ๆ ที่บรรดาทีมกีฬาแต่ละทีมนั้นจะต้องมีวางจำหน่ายเหมือนกันหมดนั้นก็คือ เสื้อทีม
และเพราะความโดดเด่นของ เสื้อทีม ต่างที่จะมีควาแปลกใหม่สวยงามทำให้เสื้อเหล่านี้ได้กลายเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของทีม ที่ทำให้บรรดาเหล่าแฟนกีฬามักจะลุ้นกันอยู่เสมอว่าในฤดูกาลใหม่ทีมรัก ทีมโปรดของตัวเองจะมีการดีไซน์เสื้อทีมออกมาให้เป็นลักษณะใดบ้าง
แต่ทว่าหากคุณดูฟุตบอลกันจนชินตา คุณก็จะรู้ว่าบรรดาเหล่าสโมสรต่าง ๆ นั้นในกีฬาฟุตบอลนั้นมีสิทธิที่จะเลือกจับมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อที่จะออแบบเสื้อทีมเป็นของตนเอง แต่ทว่าในกีฬาของเหล่าชาวอเมริกามันกลัยไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าไม่บรรดาเหล่าเสื้อแข่งในลีกไม่ว่าจะเป็น NBA , NFL, MLB, NHL รวมไปถึง MLS นั้นจะถูกผูกขาดโดยแบรนด์เพียงแค่แบรนด์เดียวเท่านั้น
แน่นอนว่าการทำแบบนั้นทุกอย่างมันย่อมีแหตุผล โดยผลประโยชน์เหล่านี้มันก็นำพามาซึ่งแนวคิด
แบบอเมริกันชน เพราะว่าถ้าจะถามว่าประเทศไหนคือประเทศแรกที่มีการเอาเสื้อทีมกีฬามาแต่งเป็นแฟชั่น คำตอบที่ได้ก็คงจะหนีไมพ้นประเทศอย่าอเมริการแน่นอน
และถ้าเราจะมาลงลึงให้มากไปกว่านั้น เราก็ต้องไปพูดถึงลีกกีฬาที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุดอย่าง NBA เพราะหลังจากที่ตัวของผู้เล่นระดับตำนานอย่าง ไมเคิล จอร์แดน ได้เข้ามาสู่ลีกในปี 1984 ลีก NBA เองก็ได้เริ่มมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และนักบาสเกตบอลชื่อดังหลาย ๆ คนตอนนั้นก็เริ่มเซ็นสัญญาสไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับรองเท้ายี่ห้อดังต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ทาง NBA เองก็เห็นโอกาสที่จะใช้ เสื้อทีมบาสเกตบอลเพิ่มมูลค่า และ ขยายฐานการตลาดขึ้นไป
และเมื่อมีแนวคิดที่จะทำการขายเสื้อทีมทาง NBA เองก็ได้พบเห็นถึงจุดอ่อนหลาย ๆ ข้อที่ส่งผลเสียต่อการสร้างมูลค่าการขายลิขสิทธิ์เสื้อทีม นั่นก็เพราะว่าฐานผู้ชม NBA ตอนนั้นยังไม่ได้เยอะเหมือนกับปัจจุบันนี้ โดยความสนใจของคนส่วนใหญ่จะไปอยู่แค่กับทีมดัง ๆ เช่น บอสตัน เซลติก เซลติกส์, ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส, นิวยอร์ก นิกส์, ดีทรอยต์ พิสตันส์ หรือ ชิคาโก บูลส์ ซึ่งบรรดาทีมเหล่านี้นั้นมีบรรดาเหล่าผู้เล่นซุปเปอร์สตาร์ไปกระจุกอยู่เป็นจำนวนมาก และ มันก็ค่อนข้างที่จะดึงความสนใจของแฟนบาสได้อย่างง่ายดาย
แต่ในขณะเดียวกันทางทีมที่ไม่มีซุปเปอร์สตาร์และไร้ความสำเร็จ หลาย ๆ คน
แทบจะมองข้ามหัวราวกับทีมพวกนั้นไม่มีตัวตนอยู่ใน NBA เสียด้วยซ้ำ จึงทำให้ทางลีกมองว่า หากปล่อยให้แต่ทีมไปเซ็นสัญญเสื้อทีมกันเอง สุดท้ายบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ย่อมที่จะไปทุ่มเงินแต่กับทีมดัง ๆ และปล่อยให้ทีมเล็กกลายเป็นหมาหงอน ได้ใส่แต่แบรนด์เล็ก ๆ รวมถึงได้ค่าเซ็นสัญญาอันน้อยนิด
และสิ่งที่จะตามมานั่นก็คือ ความเหลื่อมล้ำ และ ผูกขาดความสำเร็จ และผลใหญ่ที่ตามมานั่นก็คือมันจะทำให้มนต์เสน่ห์การแข่งขันของอเมริกันเกมส์ที่ทุกทีมต้องมีโอกาสลุ้นแชมป์ได้จางหายไป
และเมื่อ NBA เห็นแบบนั้นพวกเขาก็มีความตั้งใจที่จะปกป้องแฟรนไชส์ที่ไร้ชื่อเสียง และ ฐานแฟนคลับของลีก ด้วยการสอดมือเข้ามาในการเลือกสปอนเซอร์หลักที่จะสนับสนุนเสื้อทีม และได้เริ่มการเปิดให้ประมูลซื้อสิทธิ์ในการเข้ามาเป็นผู้ผลิตเสื้อแข่งหลักในลีกแต่เพียงผู้เดียวในฤดูกาล 1986 – 1987
โดยการเปิดประตูการทำเสื้อทีมนั้นไม่ใช่ว่าบริษัทไหนก็ได้จะมาประมูล เพราะทางลีก NBA
เองก็มีเงื่อนไขว่า บริษัที่จะเข้ามาประมูลนั้นจะต้องมีกำลังผลิตที่มากพอกับความต้องการแฟน ๆ และยังต้องกระจายสินค้าไปทั่วอเมริกาได้ และแบรนด์แรกที่ได้เข้ามาร่วมทำธุรกิจเสื้อทีมกับ NBA เจ้าแรกก็คือ แบรนด์ที่มีชื่อว่า Sand-Knit โดยเป็นการเซ็นสัญญาทั้งสิ้น 5 ปีด้วยกัน
ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของสัญญา แต่หลาย ๆ คนก็เชื่อว่า NBA ได้รายได้จากสัญญาครั้งนี้ไปหลายสิบล้าน
หลังจากหมดเวลา 5 ปี แบรนด์ที่เข้ามาสานต่อเรื่องการผลิตเสื้อทีมนั่นก็คือแบรนด์อย่าง Champion
โดยแบรนด์นี้ได้เข้ามารับช่วงต่อในฤดูกาล 1990 – 1991 ซึ่งทั้งแบรนด์ Sand-Knit และ Champion ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการยกระดับเสื้อทีมของ NBA ให้กลายเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น ที่ผู้คนต่างก็ตามหามาใส่กัน นอจากนั้นแล้วอีกหนึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาของเสื้อทีมบาส NBA นั่นก็คือ การกลายเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับลีก NBA ให้หลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก และมีรายได้จำนวนมหาศาลเข้ามาสู่ลีกอย่างรวดเร็ว
อีกสิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้กีฬาอเมริกาต้องให้เสื้อทีมจากแบรนด์เดียวกันหมดนั่นก็คือ
ความเท่าเทียม เพราะอย่างที่เราน่าจะพอทราบกันมาบ้างว่า อเมริกันเกมนั้น คนที่ขับเคลื่อนนั้นไม่ใช่ทีมกีฬา แต่เป็นนตัวของลีกเอง เพราะว่าในลีกของอมเริกันเกมนั้นจะไม่มีทีมไหนที่โด่งดังเป็ดาวค้างฟ้า เนื่องจากทุกทีมมีโอกาสที่จะขึ้นสูงจุดสูงสุด และ วูบสู่จุดต่ำสุดได้เร็วพอ ๆ กัน จึงโอกาสผลิกพันที่สูงนี้เองจึงทำให้ทางลีกต้องเข้ามารับประกันผลประโยชน์ของทุก ๆ ทีมว่าต่อให้ทีมจะเก่ง หรือ ไม่เก่งแค่ไหนก็ตาม ทุกทีมจะต้องได้รับผลประโชน์เท่าเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับบรรดาเหล่านักลงทุน
มันจึงทำให้แต่ละแบรนด์ล้วนต้องการที่จะเป็นเจ้าของผู้ที่ถือลิขสิทธิ์ และเมื่อเกิดสงครามการแย่งค่าลิขสิทธิ์เสื้อทีมอันแสนดุเดือดขึ้นยังไงผลสุดท้ายแล้วคนที่ได้รับผลประโยชน์ไปแบบเต็ม ๆ นั่นก็คือ ลีก ที่พร้อมจะแบมือรับทรัพย์อันมหาศาล และเมื่อลีกได้เงินอันมหาศาลไป สิ่งที่ลีกสามารถนำไปทำประโยชน์ต่อได้นั่นการการนำเงินไปเพิ่มมูลค่าให้แต่ละทีมได้อย่างเท่าทีมกันนั่นเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้กีฬาอเมริกาต้องให้เสื้อทีมจากแบรนด์เดียวกันหมดนั่นก็คือ การขยายการตลาด
โดยกีฬาอย่าง NBA นั้นเวลาที่พวกเขาเดินทางไปโปรโมทเพื่อขยายตลาดในประเทศจีนนั้น พวกเขาจะไม่ได้เดินทางไปเพียงแค่ทีมใดทีมหนึ่ง แต่พวกเขาจะไปโปรโมทในฐานะของลีก NBA ซึ่งสิ่งที่ตามไปในการโปรโมทครั้งนี้นั่นก้คือ การนำสินค้าไปขาย และแน่นอนว่าหนึ่งในสินค้าที่เอาไปขายนั่นก็คือ เสื้อทีม โดยการใช้เพียงแค่แบรนด์มันจะทำให้หมดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของแต่ละแบรนด์ไปได้อย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว
และเพราะการใช้เสื้อทีมเพียงแค่แบรนด์เดียวของ NBA นี้เองจึงได้กลายเป็นตัวจุดประกายให้กับลีกอื่น ๆ ของอเมริกันเกมได้เจริญรอยตามมาจาถึงทุกวันนี้นั่นเอง dunkswin9
เครดิต : สล็อตแตกง่าย