สำหรับคอกีฬาทีทุกลมหายใจเข้าออกจะต้องเป็นเรื่องของกีฬาอย่างตลอดเวลาแล้วละก็ เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนเองอาจจะไม่หมดเพียงแค่การชมการแข่งขันเท่านั้น เพราะว่าหลาย ๆ คนเองก็ต้องการที่จะสนับสนุน รวมถึงซัพพอร์ตในด้านต่าง ๆ ให้กับทีที่ตัวเองรัก หรือ ผู้เล่นคนโปรดไม่มากก็น้อย และหนึ่งในวิธีซัพพอร์ตที่บรรดาเหล่าแฟน ๆ ประเภทกีฬาต่าง ๆ มักจะนิยมมากที่สุดนั่นก็คงจะหนีไม่พ้นการซื้อของที่ระลึกนั่นเองง และหนึ่งในสิ่งที่หลาย ๆ คนนิยมซื้อมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเสื้อแข่งขัน โดยในวงการบาสเกตบอล NBA จะมีคำศํพท์เกี่ยวกับเสื้อแข่งขันอยู่คำหนึ่งนั่นก็คือ คำว่า SWINGMAN ซึ่งชื่อนี้มันคืออะไร และ มันมีที่มาที่ไปมาจากไหน หากใครที่ยังไม่เคยรู้ เอาเป็นว่า เราศึกษเรื่องราวเหล่านั้นไปพร้อม ๆ กันได้เลย
ต้นกำเนิดของคำว่า SWINGMAN นั้นมาจากคำที่ใช้ในสนามบาสเกตบอลจริง ๆ
ซึ่งคำนั้นจะหมายถึงบรรดาเหล่าผู้เล่นที่สามารถเล่นได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง ซึ่งหากว่าตามจริงแล้วมันยังมีอีกหนึ่งที่ใช้เรียกความหมายเดียวกันนั้น นั่นก็คือ คำว่า
Tweener (ทวีนเนอร์) แต่สำหรับคำว่า SWINGMAN นั่นจะเป็นการระบุไปอย่างชัดเจนเลยผู้ที่เล่นที่สามารถเล่นได้ 2 ตำแหน่งนั้นจะต้องเป็นตำแหน่ง Shooting Guard และ Small Forward เท่านั้น
ซึ่งถ้าถามว่าทำไมต้องระบุ 2 ตำแหน่งให้ถูกเรียกด้วยศัพท์เฉพาะว่า SWINGMAN จริง ๆ มันก็หลากหลายเหตุผล โดยข้อแรกกนั่นก็คือ การยืนตำแหน่งของ Shooting Guard และ Small Forward นั้นแทบจะเรียกได้ว่าอยู่กันคนละฝั่งของสนาม หรือ ถ้าเปรียบให้เห็นภาพเป็นฟตุบอลนั่นก็คือ ปีกซ้าย กับ ปีกขวานั่นเอง
ส่วนการใช้คำว่า SWINGMAN อย่างเป็นทางการนั้นเกิดขึ้นในยุค 60 โดยผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นนั่นก็คือ จอห์น ฮาฟลิเช็ค หนึ่งในตำนานของทีม บอสตัน เซลติกส์ ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างมากมายในฐานะแชมป์ NBA 8 สมัย และยังติดทีมออลสตาร์ของลีกไปอีก 13 ครั้ง
โดยตัวของ ฮาฟลิเช็ค ได้เริ่มต้นกับเซลติกในฐานตัวสำรอง
แต่เพราะว่าเขาเป็นที่สามรถเล่นได้ทั้งตำแหน่ง Guard และ Forward นี้เอง จึงทำให้นิตยสารกีฬาชื่อดังในขณะนั้นอย่าง Sport Illustrated ได้นิยามตัวของ ฮาฟลิเช็ค ว่าเป็นผู้เล่นแบบ SWINGMAN เนื่องจากตัวของเขานั้นเร็วเกินไปที่จะเล่นตำแหน่ง FW และในทางกลับกันตัวของเขาก็ยังแกร่งเกินไปที่จะเล่นตำแหนางการ์ดอีกด้วย จึงทำให้ท้ายที่สุดแล้วตัวของ ฮาฟลิเช็ค ก็ได้พัฒนาตัวเอง จนเป็นทั้ง Shooting Guard และ Small Forward ที่สมบูรณ์แบบ
ซึ่งเพราะความแข็งแกร่งของ ฮาฟลิเช็ค นี้เองจึงทำให้คำว่า SWINGMAN นั้นกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมันยังเหมือนเป็นการบอกนัย ๆ ไปด้วยว่า คนที่จะถูกเรียกว่า SWINGMAN ได้นั้นจะต้องเก่ง และ มีความสามารถไม่น้อยไปกว่าตัวของ ฮาฟลิเช็ค
แต่ก็ใช้ว่าผู้เล่นอย่าง ฮาฟลิเช็ค ในวงการบาส NBA จะหาไม่ได้เลย เพราะว่าหลังจากที่หมดยุคของ ฮาฟลิเช็ค ไปแล้วก็ยังมีผู้เล่นที่เป็น SWINGMAN หน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จอร์จ เกอร์วิน, ไคลด์ แดร็กซ์เลอร์ และที่โด่งดังที่สุดก็คงจะหนีไมพ้นผู้เล่นอย่าง โคบี ไบรอันท์
แม้กระทั่งในปัจจุบันเองก็ยังมีผู้เล่นที่ได้รับคำว่า SWINGMAN อยู่เช่นกัน จึงทำให้คำ ๆ
นี้ในวงกาสรบาสเกตบอลเป็นเหมือนกับสิ่งที่แตกต่างกันสุดขั้วแต่สามารถผสมให้เข้ากันได้ลงตัวเป็นอย่างดีนั่นเอง และเพราะอิทธิพลของคำนี้ที่มันมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงยังเป็นคำที่ติดหู จึงทำให้คำ ๆ เริ่มถูกหยิบนำไปใช้นอกสนามแข่งขันในที่สุด
และแน่นอนว่าสิ่งหนึ่งของบาสเกตบอลนอกจากเกมการแข่งขันอันเร้าใจแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันนั่นก็คือบรรดาเหล่าเสื้อแข่งของแต่ละทีม ซึ่งมีความสวย และ มีความเป็นเอลักษณ์อันโดดเด่น จึงทำให้บรรดาเหล่าเสื้อแข่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งของสะสมที่บรรดาเหล่าแฟนบาสต้องการมาโดยตลอด และแน่อนนว่าวงการบาสเกตบอลก็ไม่ต่างอะไรจากวงการอื่น เพราะวงการนี้ก็มีวางจำหน่ายเสื้อของทีมเป็นสินค้าที่ระลึกเช่นกัน โดยในตอนนั้นจะยังไม่ได้เกรดเสื้ออย่าง SWINGMAN อยู่ในสาระระบบ แต่จะมีการแบ่งเกรดเสื้อออกเป็น 2 เกรดด้วยกันนั่นก็คือ เกรดสำหรับแฟน ๆ หรือที่เรียกกันว่า Replica กับอีกหนึ่งเกรดนั่นก็คือ Authentic ซึ่งเป็นเกรดที่สำหรับผู้เล่นใส่ลงสนามจริง ๆ นั่นเอง
แต่มันกลายเป็นว่าเสื้อในเกรดอย่าง Replica กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมนักจากบรรดาเหล่าแฟนบาสพันธุ์แท้
เพราะว่าเสื้อในเกรดนี้ค่อนข้างที่แตกต่างจากเสื้อแข่งจริงในสนามอยู่พอสมควร เนื่องจากเสื้อในเกรดนี้มีราคาขายที่ต่ำ จึงทำให้จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุน มันจึงทำให้บรรดาเหล่าแฟนบาสหันไปหาเสื้อเกรดระดับแข่งอย่าง Authentic กันหมด แต่สิ่งที่ตามมานั่นก็คือ เสื้อในเกรดนั้นจะมีราคาที่แพงกว่าเกรดแฟนถึง 2 เท่า จึงทำให้บางคนเองก็ไม่สามารถที่จะจับต้องเสื้อผ้าเหล่านี้ได้ ซึ่งช่องว่างนี้แหละที่ SWINGMAN จะมาอุดรูรั่ว
เพราะว่าในปี 2010 adidas และ NBA ได้ร่วมมือกันแก้ปัญหานี้เพื่อหวังที่จะกระตุ้นยอดขายเสื้อบาสให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงพวกเขายังมีความเห็นตรงกันนั่นก็คือ การพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของไอเดียที่ทำให้ adidas คิดที่จะทำเสื้อเกรดรองรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งเกรดร้องนี้จะต้องเป็นการผสมสานระหว่าเกรด Authentic และ Replica เข้าด้วยกัน และเพราะมันเป็นการผสานกันของเกรดเสื้อที่ต่างกันแบบสุดขั้ว แต่สุดท้ายแล้วมันก็สามารถนำมาผสานกันได้อย่างลงตัว เหมือนดังเช่นตำแหน่ง Forward และ Guard ที่สามารถเล่นได้ด้วยผู้เล่นคนเดียวนี้เอง มันจึงทำให้พวกเขาเลือกที่จะนำคำนิยามอย่าง SWINGMAN มาใข้
แถมยังไม่หมดเท่านั้นเพราะว่าทางอาดิดาสเองก็ยังมีการผลิต SWINGMAN
รุ่นพิเศษออกมาให้บรรดาเหล่าแฟน ๆ ได้สะสมกัน โดยเสื้อ SWINGMAN รุ่นพิเศษนั้นจะถูกเรียกว่า NBA Revolution 30
และการมาของเสื้อ SWINGMAN นี้ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ให้แก่วงการบาสอย่างรวดเร็ว เพราะมันเล่นเอาเสื้อเกรดอย่าง
Replica ตกกระป๋องไปในทันที แต่ถึงแบบนั้นแล้วปัญหาของเสื้ออย่าง SWINGMAN เองก็มีให้เห็นเช่นกัน เพราะว่าในปัจจุบันเสื้อเกรด SWINGMAN ได้มีการเปลี่ยนจากการปักชื่อ และ เบอร์ลงเสื้อมาเป็นแบบสกรีนแทน แถมในยุคที่ ไนกี้ รับไม้ต่อมาในปี 2017 ก็มีบรรดาเหล่าแฟนบาสหลายคนบ่นถึงเรื่องเสื้อที่คุณภาพต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่ถึงจะโดนบ่น โดนว่าแค่ไหนก็ตามความนิยมยของเสื้อเกรด SWINGMAN ก็ยังอยู่ในอันดับ 1 ของแฟนบาสอยู่เสมอ เพราะมันเป็นเสื้อที่ใส่ง่าย ใส่สบาย แถมราคายังไม่แรงมากอีกด้วย แถมปัจจุบันนี้ทางเสื้อเกรด SWINGMAN ก็ยังสามารถนำมามิกซ์แอนด์แม็ตซ์กับเสื้อผ้าแฟนชั่นในรูปแบบอื่น ๆ ได้จึงทำให้ นิยามของเสื้อเกรด SWINGMAN นั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่คำว่าเสื้อกีฬาอีกต่อไปแล้ว dunkswin9
เครดิต : สล็อตเว็บตรง