คำว่าเก่งค้ำฟ้านั้นไม่สามารถที่จะกลายเป็นจริงได้เสมอไป ซึ่งหลาย ๆ คนที่ชื่นชออบการดูกีฬาก็น่าจะพอเข้าใจว่า ไม่มีทีมไหนหรอกที่จะสามารถแข็งกร่งได้เสมอไป เพราะมันมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเป็นส่วนประกอบ แต่ถึงจะไม่มีทีมไหนที่จะสามารถแข็งแกร่งได้ตลอดเวลา แต่อย่างน้อยมันก็มีวิธีที่ทำให้ทีมพวกเขายังรักษามาตรฐานในการลุ้นแชมป์ได้อยู่ตลอด โดยวิธีนั้นก็คือ การซื้อตัวผู้เล่นต่าง ๆ เข้ามาเสริมทีมนั่นเอง ซึ่งการซื้อตัวผู้เล่นเข้ามาในแต่ละครั้งก็ถือว่าเป็นไฮไลท์ของโลกกีฬาที่เหล่าบรรดาแฟน ๆ ต่างก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
แต่ทว่าในอเมริกันเกมนั้นวิธีการเสริมทีมนั้นจะค่อนข้างที่จะแปลกจากกีฬาในยุโรปที่เราเคยเห็นกันสักหน่อย มันเลยทำให้หลาย ๆ คนที่ไม่เคยได้รับชมกีฬาอย่างบาสเกตบอล NBA นั้นจะค่อนข้างงงสักหน่อยกับระบบเสริมทีมของทีมบาสแต่ละทีม
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่อยากหันมาชมกีฬาบาสเข้าใจ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงกฎกติการในการเสริมทีมของลีกบาสเกตบอลอันดับหนึ่งอย่าง NBA กัน
ก่อนอื่นเราจะมาพูดถึงพื้นฐานที่ทำให้กีฬาอย่าง American Games มีพื้นฐานในการเสริมทีมที่ไม่เหมือกับกีฬาอื่น ๆ กันก่อน โดยกีฬาของ American Games นั้นจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าระบบซื้อขาย แต่จะใช้ระบบทีเรียกว่า เพนดานค่า เหนื่อยในการกำหนดมูลค่าโดยรวมของทีมแทน ซึ่งผลรวมของค่าเหนื่อยแต่ละทีมนั้น จะนับจากค่าเหนื่อยของผู้เล่นทุกคนในทีมรวมกันในปีนั้น โดยทุก ๆ ทีมจะมีเพดานค่าเหนื่อในการสร้างทีมเท่ากัน ส่วนเพดานค่าเหนื่อนทั้งหมดจะมีปริมาณเท่าไหร่ ก็จะขึ้นอบยู่กับรายได้รวมของทางลีกที่มาจาก ค่าลิขสิทธิ์ , ค่าสปอนเซอร์ และ รายได้อื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการประกาศก่อนที่ตลาดการซื้อตัวแบบ Free Agency จะเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
แต่ถ้าถามว่างบประมาณในการเสริมทีมนั้นจะต้องเป๊ะแบบตลอดหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ เพราะว่าในลีก NBA ยังถือได้ว่าใจดีกว่ากีฬา American Games อื่น ๆ ที่จะมีการผ่อนปรนเรื่องเพนดานค่าเหนื่อลงมาเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างกับกีฬา American Games อื่น ๆ ที่มีนโนยบายคือ ห้ามเกินโดยเด็ดขาด ซึ่งการกำหนดเพนดานค่าเหนื่อยเอาไว้นั้น มันจึงทำให้แต่ละทีมนั้นจะสามารถเสริมทีมไม่ให้เกินเพดานค่าเหนื่อย และ ต้องไปไม่ต่ำกว่า 90% ของเพดานค่าเหนื่อยรวม และแต่ละทีมจะต้องลงทะเบียนผู้เล่นในสังกัดของตนเองให้โควต้าทั้งหมด 15 คน
และหากทีมไหนที่มีเพนดานค่าเหนื่อในการเสริมทีมเกินแล้ว ทีมนั้นก็จะไม่สามารถที่จะเซ็นสัญญาผู้เล่นจากตลาด Free Agent ได้ แต่ถึงแบบนั้นแล้วพวกเขาก็ยังสามารถที่จะทำการ Trade สัญญากับผู้เล่นในสังกัดของทีมอื่นได้ รวมถึงยังสามารถที่จะเซ็นต่อสัญญากับผู้เล่นในสังกัดเดิมของพวกเขาได้แบบปกติ เพีงแต่ว่าการกระทำในธุรกรรมการเงินของพวกเขาแต่ละครั้งจะไม่ต้องเกินเส้นที่เรียกว่า Tax Line หรือเพนดานภาษานั่นเอง โดยหากทีมไหนทำธุรกรรมการเงินเกินเส้น Tax Line ทีมนั้นจะต้องจ่ายภาษีฟุ่มเฟือยให้กับทางลีก โดยภาษีนั้นจะถูกเรียกว่า Luxury Tax แถมไอ้เส้น Luxury Tax นี้ยังไม่ใช่เส้นที่ทีมไหนมีเงินถึงก็ยินยอมจะพร้อมจ่ายได้ เพราะว่า มันยังมีบทลงโทษอื่น ๆ อย่างการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีที่ทีมนั้นต้องจ่าย Luxury Tax หลายปีติดต่อกัน ซึ่งไอ้ Luxury Tax ที่แต่ละทีมต้องจ่ายนั้นมันมีมูลค่ามาหาศาลมาก ๆ มันเลยกลายเป็นข้อบีบบังคับให้หลาย ๆ ทีมที่ไม่อยากเสียเงินไปโดยใช้เหตุต้องระมัดระวัง
หลังจากที่เราเรียนรู้วิธีคุมค่าใช้จ่ายในการเสริมทีมของลีกกันไปแล้ว
ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาดูวิธีการเสริมผู้เล่นในแต่ละประเภทกันบ้าง โดยการเสริมทีมของบาส NBA สามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน โดยอันดับแรกที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างนั่นก็คือ สิ่งที่เรียกว่าการ ดราฟต์
โดยการดราฟต์จะเป็นการคัดเลือกผู้เล่นหน้าเข้ามาเสริมทีม โดยผู้เล่นคนนั้นจะยังไม่เคยเล่นในเวทีอย่าง NBA มาก่อน ซึ่งผู้เล่นที่ทำการดราฟต์ได้นั้นจะต้องลงทะเบียนกับ NBA เป็น Draft Player ก่อน ซึ่งจะถูกเลือกหรือไม่นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยก้าวแรกของการเข้าสู่เวที NBA นั่นก็คือการลงทะเบียนเอาไว้
ส่วนแต่ละทีมนั้นก็จะมีสิทธิ์ในการเสริมทีมด้วยการดราฟต์ผู้เล่นในแต่ปีได้ 2 ครั้ง โดยจะบางเป็นรอบที่ 1 กับ 2 ซึ่งหลักการดราฟต์คร่าว ๆ นั่นก็คือ ทีมใดขาดผู้เล่นตำแหน่งไหน พวกเขาก็จะดราฟต์ผู้เล่นในตำแหน่งนั้นโดยตรงเข้ามาเสริมทีม แต่ก็ยังมีอีกกรณีนั่นก็คือ ทีมขาดผู้เล่นในตำแหน่งนั้น ๆ แต่ทว่าในตลาดดราฟต์กลับไม่มีผู้เล่นในตำแหน่งนั้นมาให้เสริมทีม จึงทำให้ทีมต้องมองหาผู้เล่นที่ทีมคิดว่ามีศักยภาพพอเข้ามาสู่ทีม และ หลังจากนั้นก็จะเอาผู้เล่นคนนั้นไป แลก กับผู้เล่นที่มีสังกัดคนอื่นในภายหลัง
ส่วนทีมไหนที่ไม่ต้องการจะเสริมทีมด้วยการดราฟต์ในปีนั้น พวกเขาก็สามารถที่จะเอาสิทธิ์ในการดราฟ์ไปให้ทีมอื่นใช้ได้ โดยขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาจะตกลงในการใช้อะไรแลก เช่นอาจจะยอมให้สิทธิ์ในการดราฟต์ไปเพื่อแลกกับผู้เล่น เงินทอง หรือ สิทธิ์ดราฟต์ของทีมอื่นในปีเดียวกันก็ได้
นอกจากนั้นแล้วหากทีมไหนที่ขาดผู้เล่นตำแหน่งที่ต้องการ และ ยังได้อันดับในการดราฟต์ไม่ค่อยดี จนทำให้ทีมอื่นดึงผู้เล่นในตำแหน่งที่ตัวเองต้องการนำมาเสริมทีมตัดหน้าไป ทีม ๆ นั้นก็อาจจะทำการเสนอสิทธิ์ดราฟต์ในปีที่ตกลงกัน เป็นเงิน หรือ ผู้เล่นในสังกัด เพื่อแลกเปลี่ยนให้ทีมที่ดึงตัวผู้เล่นตัดหน้าไปส่งตัวผู้เล่นคนนั้นเข้ามาสู่ทีม
โดยสัญญาจ้างจากการเสริมทีมแบบดราฟต์นั้น จะถูกเรียกว่า Rookie Contract ซึ่งสัญญานี้จะเป็นสัญญาการันตีด้วยเงินค่าเหนื่อยที่คงที่หรือพูดง่าย ๆ ก็คือได้ค่ายเหนื่อเต็มตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอัตรค่าจ้างของแต่ละคนก็ลดหลั่นกันไปตามอันดับที่ถูกดราฟต์เข้ามาสู่ทีมนั่นเอง ส่วนผู้เล่นคนไหนที่ลงทะเบียนดราฟต์ไว้ แล้วไม่มีทีมไหนเรียกตัวมาเลย ผู้เล่นคนนั้นก็จะกลายเป็น Undrafted Free Agency ซึ่งแต่ละทีมจะสามารถดึงเข้าสังกัดได้ทันที แต่เงื่อนไขในสัญญาจ้างจะต่ำกว่าผู้เล่นที่ถูก Draft พอสมควร
แต่เรื่องราวของวิธีการเสริมทีมยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ ซึ่งมันจะมีการเสริมทีมในรูปแบบไหนอีกบ้าง เอาไว้เดี๋ยวเรามาติดตามต่อกันในครั้งหน้า