เรานั้นจะรู้จักนักบาส NBA ในฐานะนักกีฬาบาส ซึ่งบางคนก็ทำให้เรารู้จักในรูปแบบเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถการเล่นบาสที่เก่งจนมีชื่อเสียง แต่ก็จะมีนักบาสบางกลุ่มที่ไม่ได้มีแค่ความสามารถในสนาม แต่มีน้ำใจนอกสนามบาสอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือ ปันน้ำใจให้สำหรับคนไร้บ้าน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมากมายนอกสนามบาส ครั้งนี้เราขอยกตัวอย่างนักบาสบางคน ที่ทำผลงานของนักบาส ปันความสุขนอกสนาม จะเป็นใครกันบางมาชมกัน
การปันความสุขเกิดขึ้นเพราะการมีชื่อเสียงที่โด่งดังและการได้รับค่าตัวจากอาชีพนักกีฬาเป็นจำนวนมาก จนทำให้ถูกจับตามองในแทบจะทุกอิริยาบถ ว่าจะกินอะไร จะนอนที่ไหน จะใช้ชีวิตอย่างไร ใช้รถคันไหน ใช้สินค้าแบรนด์เนมไหน ซึ่งเหล่านักกีฬา อย่างเหล่าซูเปอร์สตาร์ในบาสเกตบอล NBA ก็หนีไม่พ้น เพราะพวกเขานั้นมีรายได้ที่ข้อนข้างสูง หลายคนเป็นเศรษฐีระดับพันล้านเลยทีเดียว และเงินที่นักบาสเหล่านั้นได้มาจากค่าตัว ค่าสปอนเซอร์ ค่าโฆษณาสินค้า การออกรายการ ส่วนแบ่งจากผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งธุรกิจของตนเอง หากพูดแบบไม่ต้องเกรงใจคือ เงินเหล่านั้น ต่อให้เลิกเป็นนักบาสไปแล้วก็ยังมีกินแบบสบายอยู่ดี
แม้ว่าเราจะเห็นการใช้ความมั่งคั่งในมุมที่นักข่าวพยายามหยิบยกมานับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรถสป๊อตคันหรูนับสิบๆ คันของ ไมเคิล จอร์แดน เพนเฮาส์หรูหราทั่วสหรัฐอเมริกาของ เลบรอน เจมส์ หรือแม้กระทั่งชีวิตที่การแต่งตัวแบบแฟชั่นจ๋า แบรนด์เนมทั้งตัวของ รัสเซล เวสบรูค แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการใช้เงินทองที่หามาได้ในมุมมองที่ผู้คนมักจะมองข้ามไปเช่นกัน ซึ่งหากเปรียบด้วยคำในภาษาไทยคงเป็นคำว่า “การปันน้ำใจ”
ว่ากันด้วยเรื่อง การปันน้ำใจ จิตอาสา หรือการให้สิ่งดีๆ กับเยาวชนและสังคมนั้น ถือเป็นสิ่งที่นักกีฬาทุกคนนิยมทํากันมากมาย ตั้งแต่ยุค 1980 เป็นต้นมา เมื่อนักกีฬาหลายคนจากหลายวงการกีฬา ไม่ว่าจะเป็น NBA, อเมริกันฟุตบอล NFL, เบสบอล MLB หรือลีกกีฬาอื่นๆ ต่างมีการบริจาคคืนกําไรกลับสู่สังคม จริงอยู่ที่เรื่องนี้อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฏหมายที่สหรัฐอเมริกา หรือหลายๆ ประเทศนั้นชอบใช้กันคือ เงินบริจาคสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่พวกเขาก็ยินดีทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำโดยส่วนตัวหรือผ่านโครงการของลีกก็ตาม
ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หลายคนยังเลือกที่จะทำแบบไม่ให้ใครรู้เรื่องเราเรียกว่า (ปิดทองหลังพระ) ไม่เน้นออกสื่อให้เป็นข่าวดัง อย่างเช่น สก็อตตี้ พิพเพ่น หนึ่งจาก 3 Big Three ชิคาโก้ บูลส์ ในยุค 1990 ที่ซื้อบัตรเข้าชมเกม NBA เกมละประมาณ 20 ใบเพื่อให้เด็กๆ ที่ไม่มีเงินโอกาสได้มารับชมการแข่งขันในเกมกีฬา หรือ เบน วอลเลซ เซ็นเตอร์ ดีทรอยต์ พิสตันส์ ชุดแชมป์ปี 2004 ที่มักจะไปทํากิจกรรมการกุศล ไม่ว่าจะเป็นบริจาคอุปกรณ์การเรียน หรือเปิดคลินิคเล่นบาส แม้กระทั่ง 3 สหายระดับออลสตาร์จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ที่นําโดย แพทริค ยูวิง อลองโซ่ มัวร์นิ่ง และ ดิเคมเบ้ มูตอมโบ้ ที่ต่างใช้เวลาช่วงปิดฤดูกาลไปสอนบาสเกตบอลให้กับมหาวิทยาลัยเก่าตนเอง และไปทําประโยชน์ให้แก่ชุมชนแถวๆ มหาวิทยาลัย
ด้วยการให้ที่มีมาตลอดของนักบาส NBA นั้น ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่รู้ว่า การเป็นนักบาสที่ดังแล้ว รู้จักกลับมามองย้อนคนข้างหลังนั้น คุณคือคนของสังคม และผู้คนก็รู้ว่าใครทำบาง บางคนเราจะเห็นเค้าว่า คนนี้ ออกงานบ่อยจัง แต่จริง ๆ แล้วนั้น เค้าไม่ได้อยากออกทีวี ทำให้เขากลายเป็นคนดังเลย เพียงแต่ว่าเขามีจิตใจที่บริสูทธ์ในการให้ และเมื่อผู้คนจำคนนี้ได้ ก็มีการบอกต่อ ๆ กัน คนทำให้เขากลายเป็นคนมีเชื่อเสียงเรื่อง การปั่นน้ำในกลับสู่สังคม
เลบรอน เจมส์
เลบรอน ต้องบอกว่าเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆ รวมถึงคนที่มีความมุ่งมั่นในการทําเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ที่ทุ่มเทมากๆ แม้เขาจะเป็นนักบาสที่มีคนไม่ชอบหน้า หรือแม้แต่ตั้งตัวเป็น “Hater” ผู้เป็นกองหน้าอย่างเปิดเผยมากที่สุดคนหนึ่ง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นี่คือคนที่ทําเพื่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนตัวจริงคนนึงของ NBA เลยทีเดียว
เลบรอนเขาความฝันที่ยิ่งใหญ่สำหรับตัวเองอยู่เรื่องหนึ่งและอยากที่จะทำต่อสังความมานานมาก คือการ “เปิดโรงเรียนที่มีอุปกรณ์การเรียน และช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้เติบโต และมีอนาคตที่ดี” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในความคิดของเขามาโดยตลอด เนื่องจาก วัยเด็กที่ยากจนมาก ๆ ของตัวเขาเอง มีคุณแม่เลี้ยงดูเพียงลำพัง (คุณพ่อของเลบรอนมีประวัติอาชญากรรมเป็นที่มีคดีติดตัวยาวเหยียด พ่อไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาเลย) และบ้านของเลบอนในช่วงวัยเด็กอยู่ในย่านเสื่อมโทรมที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม ทำให้เขาสัญญากับตัวเองตั้งแต่นั้นว่าจะทําให้ชุมชนที่เขาอยู่และใกล้เคียงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่ขาดในตอนนั้นคือ ทุนทรัพย์
หลังจากที่เขาเริ่มมีชื่อเสียงและเงินทองจากการแข่งขันกีฬามากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และไปสู่ระดับของโลก ที่สุดเจ้าตัวก็สานฝันเพื่อสังคมของตนเองสําเร็จเมื่อปี 2018 นี้เอง ด้วยการตัดสินใจสร้างโรงเรียนที่มีทุกสิ่งตามที่ฝันไว้ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสและอนาคตและที่ดี นั่นคือ I Promise School ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองแอครอน รัฐโอไฮโอ บ้านเกิดของเขานั่นเอง
“มันเป็นความฝันของผมตั้งแต่เด็กเลย ผมอยากทําอะไรที่ดีให้แก่ชุมชนเพราะผมโตมาในสถานที่ที่แย่ และอยากให้เด็กได้เรียน ได้มีโอกาส ผมจึงสร้างโรงเรียนนี้ขึ้นมา และอยากให้เด็กและผู้ปกครองเน้นถึงความเป็นครอบครัว เพราะตอนเด็กนั้นผมเคยไม่มีมาก่อน ผมรู้จักแถวนี้ดีมาก เด็กๆ ผมขี่จักรยานอยู่แถวนี้ ผมรู้เลยว่าแถวนี้มีแต่ความทุกข์ยาก ไม่สมบูรณ์ แล้วตอนนี้ผมมีเงินเพียงพอ ทําไมผมจะไม่ทําให้ที่ที่ผมอยู่มามันดีขึ้นล่ะ” นี่คือสิ่งที่เลบรอนเปิดใจถึงเบื้องหลังในการก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้
I Promise School เป็นคำสัญญาของ เลบอล ว่าเขาเจมส์ เขาเคยให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ ว่าเขาจะกลับมาทำให้ทีนี้ พัฒนาขึ้นไปมากกว่านี้ โดย เลบอล เจมส์นั้น ใช้งบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ กว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยใช้หลักสูตร STEM-Base หรือ The Family Resource Center ที่เน้นการดำนงชีวิจชต การวางแผ่นชีวิต ให้ไปในทิศทางที่บวกและดี เพราะเขานั้น เคยเกิดมาพร้อมกับความลำบาก และเขาไม่อยากให้ความลำบากนี้ส่งต่อเด็กรุ่นหลังต่อจากเขา เขาอยากให้เด็กรุ่นหลังเกิดมาพร้อม สภาพครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ที่ดีกว่าเขา
ที่โรงเรียนแห่งนี้นั้น จะเริ่มเป็นเรียนโดยเอาหลักสูตรใหม่มาเริ่มใช้ในปี 2020 นี้ ซึ้งทำให้ ครอบครัวของคนแถวนั้น รู้สึกดีใจในการกระทำของ เลบอล เจมส์ ทำให้ผู้คนรู้สึกว่า เขาไม่ได้เป็นเพียงนักกีฬาบาสที่เล่นเก่ง แต่เป็นคนที่มีน้ำใน ที่ ปันน้ำใจหลับสู่สังคม ซึ้ง เล บอล ก็ได้ออกมาตอบว่า ผมเคยสัญญาแล้วว่าจะกลับมาทำ มันคือสิ่งที่ทุกคนต้องมีความตะหนักว่า ถ้าสัญญาอะไรแล้ว ต้องทำตามสัญญา
ไม่ได้มีเพียงแค่โรงเรียนแห่งนี้เท่านั้น การปันน้ำใจของเลบรอนนั้นมีมากมาย อาทิ การบริจาคเงินกว่า 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แอฟริกัน-อเมริกันของสหรัฐอเมริกา หรือบริจาคอีก 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้มูลนิธิบอยส์แอนด์เกิร์ลคลับ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่เยาวชน และเจ้าตัวยังได้ตั้งมูลนิธิ Lebron James Family ขึ้นมาเพื่อระดมทุน บริจาคเงิน ช่วยกิจกรรมการกุศลอื่นๆ อีกมากมาย
รัสเซล เวสบรูค
หลายคนที่ได้อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วคงงงกันเลย คงไม่มีใครอยากเชื่อว่า เวสบรูค ชายที่ขึ้นชื่อเรื่องของ เจ้าพ่อแหชั่นในการแต่งตัว ซึ่ง เวสบรูค นั้น ก็เป็นอีหนึ่งคนที่มีการ ปันน้ำใจกลับสู่สังคมอยากมากคนนึง แม้เขาจะชอบแต่ตัวในการเดินเข้าสนามทุกครั้ง ซึ้งเคยมีคนบอกมาว่า การแต่งตัวของ เวสบรูค ในแต่ละครั้งที่เดินเข้าสนามมานั้น มูลค่าทั้งตัวไม่เคยต่ำกว่า 50,000$
ซึ้งเป็นตัวเลขที่สูงมากเลยทีเดียว แต่อย่างว่าละครับนี้มันคือความชอบส่วนตัวนะครับ มาฟังเรื่องราวดีดีกันดีกว่า
เรามัจจะเห็น หุ่นคนนี้ชอบแต่งตัว เจ้าพ่อแฟชั่น อวดนู่อวดนี่ และอีกทั้งภาพลักษณ์ในสนามยังมีความดุดัน ก้าวร้าว มุ่งมั่น เน้นโชว์ผลงานตัวเองให้โดดเด่นจนหลายคนมองว่าไม่ยอมทำเพื่อทีมจะเอาแต่สถิติตัวเอง รวมถึงมีปากเสียงกับแฟนๆ อยู่บ่อยๆ แต่ รัสเซล เวสบรูค ยังมีอีกมุมหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่เห็น นั่นคือ “การปันน้ำใจกลับสู่สังคม”
การปันน้ำใจของเวสบรูคนั้นมีเยอะมากมาย อย่างเช่นเหตุการณ์เมื่อปี 2015 เขาได้มีข่าวว่า คริสทิน กอนซาเลส แม่เลี้ยงเดี่ยวชาวโอกลาโฮมาที่มีลูกน้อย 2 คน ประสบปัญหาความลำบากในการเดินทางไปส่งลูกน้อยที่โรงเรียนเนื่องจากไม่มียานพาหนะ แม้เธอจะขยันตัวเป็นเกลียว รวมถึงได้รับการยกย่องจากที่ทํางานและเพื่อนๆ ว่า เป็นคนดีและรักลูกมากก็ตาม แต่เมื่อเวสบรูครู้ถึงความลําบากเช่นนี้ เขาจึงเดินทางไปเซอร์ไพรส์กอนซาเลส ด้วยการนํารถ SUV ที่ได้เป็นรางวัลจากการเป็น MVP ในเกมออลสตาร์ปีดังกล่าวไปมอบให้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
โดยหลังจากการมอบรถให้กับเธอนั้น กอนซาเลสเผยว่า “เขา (เวสบรูค) ยื่นกุญแจให้ฉัน มันเหมือนเรื่องตลก แต่เขาบอกว่ามันคือรางวัลของคนที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และคุณมีช่วงเวลาที่ยากลําบากพอแล้ว เท่านั้นแหละ ชั้นเชื่อว่ามันคือความจริงของฉัน ขอบคุณรัสเซลมากๆ” ซึ่งเวสบรูคก็ได้บอกว่า “เธอทํางานหนักเพื่อลูกๆ มามากพอแล้ว ผมแค่อยากให้เธอได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวของเธอมากขึ้นก็เท่านั้น” ไม่เพียงเท่านั้น ในปีต่อมา เวสบรูคยังนำรถที่ได้จากการเป็น MVP ในเกมออลสตาร์ไปมอบให้กับครอบครัวอิบราฮิมในมหานคร ลอสแอนเจลิส ซึ่งกำลังประสบภาวะลำบากเมื่อรถคันเดิมของพวกเขาพังอีกด้วย
เวสบรูคเขายังเป็นคนที่ก่อตั้ง Russell Westbrook Why Not? Foundation ซึ่งเป็น สถานที่เกี่ยวกับ การให้คำตอบของเด็กรุ่นหลัง ๆ เพราะเด็กหากเขาจะทำผิด เราควรตอบเขาให้ได้ว่า เขาทำผิดเรื่องอะไร เพราะเด็กชอบถามว่า “ทําไมถึงทําอย่างนั้นหรืออย่างนี้?” และนี่ละครับคือที่มาของสถานที่แห่งนี้ Why Not? Foundation
เวสบรูคหลังจากที่ได้ทำปันน้ำใจกลับสู่สังคมเปิดใจถึงการทำกิจกรรมในแบบของเขาว่า “มันดีมากๆ เลยนะกับการทําการกุศลนี้ มันทําให้ผมรู้จักกับ ครอบครัวของเด็กๆหลายครอบครัวกับทุกๆคน รู้ว่าเขาชอบอะไรบ้าง” ขณะที่ พริสซิลล่า ควินทาน่า แม่ของเด็กน้อยที่เคยมารับการช่วยเหลือจากมูลนิธิเวสบรูคเคยเล่าให้นักข่าวฟังว่า “รัสเซลเป็นคนขี้อาย และชอบพูดเรื่องตลก เขามาเลี้ยงอาหารกับชุมชนของเรา และลูกฉันก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนท้ายเขาชวนเด็กๆ ไปชอปปิ้ง เลือกของที่อยากได้ นั่นมันยอดเยี่ยมมากๆ”
และอีกสิ่งที่ตอกยํ้าความเป็นคนรักเด็กมากๆ ของเวสบรูคเกิดขึ้นก่อนช่วงคริสต์มาสปี 2015 เมื่อเขาทราบข่าวว่า มีเด็กน้อยวัย 13 ปีในโอกลาโฮมาชื่อ จาเนห์ โชคร้ายถูกกระสุนปืนลูกหลงจากการยิงกันบริเวณที่เขาขี่จักรยานผ่านเข้าที่คอ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าอาจต้องเป็นอัมพาตตลอดชีวิต และสิ่งที่จาเนห์ขอพรในคริสต์มาสแห่งฝันร้ายในปีนั้นคือ “อยากเจอกับ รัสเซล เวสบรูค สักครั้ง”
หลังจากนั้นไม่นาน โทรศัพท์ในโรงพยาบาลศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก โอกลาโฮมา ซิตี้ ก็มีสายไม่ทราบเบอร์โทรเข้ามา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของที่นั่นเผยว่า “เราเพิ่งได้รับโทรศัพท์จากรัสเซล เขาโทรมาอย่างเร่งด่วนว่าอยากพบจาเนห์ และเขาเดินทางใกล้จะถึงโรงพยาบาลแล้ว เมื่อเราพบรัสเซลในมือของเขามีเสื้อและรองเท้าพร้อมลายเซนต์ของเขา”
รัสเซล เวสบรูค นั้นถือว่าเป็น คนที่รักเด็กมาก ๆ เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการมอบหนังสือให้กับเด็ก ด้วยโอกาศ ต้องบอกเลยว่าเขาพร้อมจะให้จริง ๆ ชายคนนี้ ทำให้คนหลายคนใน NBA ฝากหนังสือมาบริจาก สถานที่แห่งนี้ด้วย หนึ่งในนั้นคือ เลบอล เจมส์ ซึ้งสองคนนี้มีความสนิทกันมาก ในเรื่องการทำกิจกรรมนอกสนามบาสนี้
คริส พอล
หลายคนคงจําเขาจากการเล่นที่มีเน้นการส่งบอล หีอมีการเล่นนอกเกมส์ หรือแอคชั่นที่มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม เบื้องลึก คริส พอล นอกสนามบาส คือนักบาสเกตบอลที่รักเด็ก รักชุมชนและสังคม และเป็นคนที่ปันน้ำใจกลับคืนสังคมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินส่วนตัว 2.5 ล้านเหรียญให้กับมหาวิทยาลัย เวค ฟอเรสต์ ที่เขาเคยศึกษา เพื่อซื้ออุปกรณ์การกีฬา บริจาคเป็นทุนการศึกษา รวมถึงช่วยโครงการกีฬาและชุมชนของมหาวิทยาลัย
นอกเหนือจากนั้นด้วยความที่ คริส พอล นั้นมีลูกน้อย ทําให้เขานั้นรักเด็กเป็นอย่างมาก และเข้าใจเด็กเป็นอย่างมาก อย่างเหตุการณ์ในช่วงวันขอบคุณพระเจ้าปี 2014 เมื่อเขาได้เห็นคลิปที่ แจ็ค กัลลาเกอร์ จากเมืองอีรี่ รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งเพิ่งสูญเสีย ลิซ่า เอไลเน่ คุณแม่จากโรคมะเร็งสมอง พูดถึงเรื่องราวความรักที่มีต่อคุณแม่ที่ซื้อรองเท้า Air Jordan CP3 ให้เป็นของขวัญ ซึ่งนอกจากจะใส่มันลงเล่นบาสแล้ว ยังนำมันไปวางเป็นกระถางดอกไม้ที่หลุมฝังศพเวลามาเยี่ยมอีกด้วย โดยคำขอที่แจ็คเขียนไว้ในคลิปคือ “อยากให้ CP3 สวมรองเท้าที่เขียนข้อความ L.E.G. (ตัวอักษรแรกของชื่อคุณแม่) ลงสนามสักนัด”
เมื่อคลิส พอล ได้เห็นความดีใจของเด็กคนนี้ ที่เขาได้ให้รองเท้าแก่เขานั้น ก็ทำให้รู้เลยว่า การเป็นผู้รับนี่มีความสุขขนาดไหน และคนเป็นผู้ให้ก็รู้สึกดี ผู้รับจะคูณความดีใจไปอีกพันเท่า ทำให้หลังจากนั้น คลิส พอล ก็พยายามเป็นผู้ให้มาตลอด เรื่องราวของแจ็คนั้นน่าทึ่ง เขากตัญญูและรักคุณแม่มาก ผมแค่หวังว่าอะไรก็ได้ที่ทําให้เขามีความสุขและยิ้มได้ ผมจะทํามัน ผมเคยสูญเสียมาก่อน ผมทราบดีว่ากําลังใจเป็นสิ่งจําเป็น”
ในปี 2005 คริส พอล ได้ปันความสุขกลับสู่สังคมโดยการ เปิด Chris Paul Family ขึ้น ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เน้นการช่วยเหลือชุมชน และวางรากฐานคุณภาพชีวิต สุขภาพให้กับเด็กๆ จากคำสอนของปู่ตั้งแต่ตอนที่จำความได้ว่า ให้ช่วยเหลือเด็กๆ และคนที่ขาดโอกาส ช่วยเหลือเด็กๆ โดยพอล และครอบครัว พ่อแม่ พี่ชายน้องสาวเขามีส่วนร่วมและก่อตั้งขึ้น มูลนิธิแห่งนี้เป็นมูลนิธิที่ไม่หวังผลกําไร และได้มีการเชื่อมโยงไปกับมูลนิธิเด็กและสังคมอีก 5 แห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยเวค ฟอเรสต์ด้วย
การกระทำของเขาในครั้งนี้นั้น พอลนั้นเป็นคนที่ไม่ชอบเปิดเผยเรื่องของการ ปันน้ำใจกลับสู่สังคม โดยทาง NBA ได้เร่งเห็นความดีในเรื่องนี้ และมอบรางวัลช่วยเหลือสังคมดีเด่น หรือ NBA Community Assist Award ให้ถึง 4 ครั้ง โดยภารกิจของมูลนิธิแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นการบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีให้แก่โรงเรียนและชุมชน รวมถึงเมื่อมีโปรแกรมว่าง พอลจะจัดโบว์ลิ่งการกุศลเพื่อระดมทุนช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสอีกด้วย
ยังมีบุคคลอีกหลายคนใน NBA ที่ชอบออกมาทำ ปันน้ำใจกลับสู่สังคมอีกมากมาย และส่วนใหญ่ ก็ไม่ชอบที่จะ ออกสื่อสังคม เพราะคิดว่า การทำเรื่องแบบนี้นั้น เป็นเรื่อองของจิตใจ ไม่ใช่เรื่องของการทำดีเอาหน้า โดยจะรวมยอดบริจาคให้กับองค์กร มูลนิธิ หรือผู้ประสบภัยในทุกๆ ปี อาทิ บริจาคเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับผู้ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนฟลอเรนซ์, บริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้สภากาชาดอเมริกา, บริจาค 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับองค์กรสุขภาพในเมืองชาร์ลอตต์ เมือง ชาร์ลอตต์ ฮอร์เนตส์, บริจาค 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แอฟริกัน-อเมริกัน หรือให้อีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯกับกองทุนตํารวจชุมชน โดยยังมีอีกกว่า 50 แห่งที่ทุกคนนั้นบริจาคและมีส่วนร่วม เมื่อคิดเป็นเงินก็อยู่ที่ราวๆ เกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งนักบาสในตำนานอย่าง จอแดน นั้น ได้ออกมาบอกไว้ว่า เราเป็นคนของสังคม เราดังขึ้นมาได้ก็เพราะมีคนดูคอยสนับสนุนเรา และคนส่วนใหญ่ในนักบาส NBA ก็จะมาจากสังคมที่ไม่ค่อยดีนัก ถ้าหากเรามาไม่ช่วยปันน้ำใจกลับสู่สังคม แล้ว เด็กรุ่นหลัง ๆ ก็จะเป็นเหมือนเรา งั้นเรามาทำวันนี้ให้เด็กรุ่นหลัง มีชีวิตที่ดีกว่าเราดีกว่า
การบริจาค หรือ ปันน้ำใจกลับสู่สังคมนั้น เพื่อการก่อตั้งมูลนิธิ หรือการให้โอกาส ให้แรงบันดาลใจแก่เด็กๆ สังคม และชุมชนนั้น หลายคนอาจมองว่า “เพราะนักบาสเหล่านั้นมีเงินเลยทําได้” หรือ “เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการประชาสัมพันธ์ตนเอง” และข้ออ้างต่างๆ นานา แต่สิ่งหนึ่งที่นักบาสเหล่านี้เห็นตรงกันคือ พวกเขาอยู่อย่างยากไร้ในตอนเด็กๆ และการใช้ชีวิตด้วยความยากลําบากนั้นโหดร้ายเพียงใด ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้เมื่อเติบโตและมั่งมีแล้วก็คือ “คืนกําไร และส่งต่อสังคมที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป” นั่นเอง
จากขูลมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เราขอย้ำว่าเป็นเพียงข้อมูลที่ยิบย่ิยมาก เพราะในความจริงแล้วนักบาสบางคนก็ ปันน้ำใจสู่สังคม โดยที่ไม่ได้มีการเปิดเผยก็มี ผมเป็นคนนึงที่อยากเห็นสังคมเป็นแบบนี้ ขอให้ทุกคนช่วยกันปันน้ำใจสู่สังคมเยอะๆ นะครับ
Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ