สำหรับเป้าหมายส่วนใหญ่ของนักกีฬาแล้วนอกจากชื่อเสียง เงินทอง อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถที่จะช่วยเติมเต็มความฝันของนักกีฬาหลาย ๆ คนได้นั่นก็คือ การรับใช้ทีมชาติ หรือเรียกเป็นภาษาเรา ๆ ก็คือ การติดทีมชาติ
ซึ่งแน่นอนว่าในบรรดาเหล่านักกีฬาในทวีปเอเชีย และ ยุโรป นั้นส่วนใหญ่พวกเขาเหล่านั้นจะถูกฝังสำนึกรักชาติอันแรงกล้าลงไปในสายเลือด จนทำให้พวกเขาเหล่านั้นมุ่งมั่นที่จะทำผลงานเพื่อทำให้บ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขามีชื่อเสียงไปไกลในระดับโลก นั่นเอง แต่ทว่าเรื่องราวการติดทีมชาตินี้มันกลับไม่สามารถที่จะนำมาใช้กับลีกบาสอาชีพอันดับหนึ่งของโลกอย่าง NBA ได้ เพราะถ้าคุณสังเกตดี ๆ แล้วเราจะพบว่าเวทีทัวร์นาเมนต์ระดับทีมชาติ ไม่ว่าจะเป็น โอลิมปิก, บาสเกตบอลชิงแชมป์โลก หรือรายการต่างๆ ของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เรามักที่จะได้เห็นบรรดาเหล่าซุปเปอรสตาร์ที่จัดอยู่ในเกรด A และ เกรด B เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าการเห็นแค่ระดับซุปเปอร์สตร์เกรด A-B นี้แหละ ที่มันทำให้หลาย ๆ คนที่หวังจะได้เห็นซุปเปอร์สตาร์ดัง ๆ ต้องผิดหวังไปตาม ๆกัน
และเพราะการอดได้เห็นผู้เล่นระดับสตาร์ดัง ๆ นี่แหละ จึงทำให้มันได้เกิดคำถามขึ้นต่อมาว่า ทำไมดินแดนที่ขึ้นชื่อว่ามีบาสเกตบอลดีที่สุดในโลก ถึงไม่ค่อยมีบรรดาเหล่าสตาร์ดัง ๆ คนไหนมาโลดแล่นติดทีมชาติเลย
ซึ่งหากเราจะหาเหตุผลเรื่องการติดทีมชาติกันจริง ๆ แล้ว เราต้องย้อนกลับไปถึงโอลิมปิกในยุคแรก ๆ
ซึ่งทางฟีบาได้มีการออกกฎให้ ห้ามให้นักกีฬาอาชีพ NBA ลงทำการแข่งขัน ซึ่งในช่วงนั้นกฎนี้ก็ไม่ได้ถือว่าส่งผลกระทบอะไรมากนัก เนื่องจากบรรดาเหล่ารุกกี้หน้าใหม่ของอเมริกที่คัดมาจากมหาวิทยาลัยแต่ละคนก็เด็ดไม่แพ้กัน มันเลยทำให้พวกเขายังสามารถที่จะคว้าเหรียญทองในทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ มาครอบได้อย่างไม่อยากเย็น
แต่ทว่าในปี 1988 ที่กรุงโซลหลาย ๆ ชาติเริ่มใช้แทคติกในการนำชื่อของนักกีฬาแต่ละคนไปสังกัดในหน่วยงานของภาครัฐต่าง ๆ และทำให้พวกเขานั้นไม่มีสถานะเป็นนักกีฬาอาชีพ มันเลยทำให้พวกเขาเริ่มนึกบรรดาเหล่านักกีฬาพวกนี้เข้ามาติดทีมชาติได้ และแน่นอนว่า บรรดาเหล่าเด็กดาวรุ่งย่อมสู้ผู้เล่นที่เทิร์นโปรไปไกลแล้วไม่ไหว มันเลยทำให้ตัวของอเมริกาเริ่มพลาดเหรียญทองบ่อยขึ้น
ซึ่งเพราะการพลาดท่าอยู่บ่อยครั้งนี่เองแหละที่มันเลยทำให้ประเทศที่มีผู้เล่นที่สุดในโลกสังกัด
อยู่เต็มไปหมดเริ่มอับอาย จนทำให้ในที่สุดทาง ฟีบา เองก็ได้ตัดสินยกเลิกกฏและเปิดให้ผู้เล่นระดับลีกอาชีพอย่าง NBA สามารถเข้าติดทีมชาติได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เองที่มันได้ทำให้เกิดดรีมในปี 1992 ขึ้น และ มันก็ได้เป็นจุดเริ่มต้นสำนึกรักชาติในหมู่นักกีฬาระดับอาชีพใน NBA ขึ้นมา
แต่กระแสรักชาตินี้มันกลับคงอยู่ได้เพียงแค่ 10 กว่าปีเท่านั้น เพราะว่าในปัจจุบันดูเหมือนว่าเหล่าผู้เล่นใน NBA จะเริ่มไม่สนใจกระแสติดทีมชาตินี้กันอีกต่อไปแล้ว โดยเหตุผลดังนั้นกล่าวนั้นอันดับนั้นก็มาจาก ค่าตัวของเหล่าซุปเปอร์สตาร์ใน NBA โดยเราขอยกผู้ที่เป็นเบอร์ 1 ในตอนนี้อย่าง เลบรอน เจมส์ มาเปรียบเทียบให้ดูกัน โดยตัวของ เลบรอน เจมส์ นั้นเขาได้ค่าเหนื่อยในปี 2018 ตกอยู่ที่ประมาณ 35,654,150 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าเราหารเฉลี่ยออกมาเป็จำนวนนาทีในสนามของฤดูกาล 55 นัด มันจะตกเฉลี่อยู่ที่นาทีละ 18,416 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 565,383 บาท และแน่นอนว่าเงินจำนวนขนาดนี้นั้นถือได้ว่าเป็นเงินนวนไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว แถมนี่ยังไม่รวมค่าโฆษณา รวมถึงพรีเซ็นเตอร์ด้านอื่น ๆ อีกด้วย และนี่แค่ เลบรอน เจมส์ คนเดียว คุณลองคิดดูสิว่าผู้เล่นระดับอาชีพคนอื่น ๆ มันจะพอ ๆ กับเขาขนาดไหน
นอกจากนั้นแล้วบรรดาเหล่าสตาร์พวกนี้ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญชองทีมบาสทีมต่าง ๆ จึงทำให้พวกเขาจำเป็นที่จะต้องแบกรับความเสี่ยงอย่างอาการบาดเจ็บที่อาจจะตามมาจากการติดทีมชาติ ซึ่งแน่นอนว่าปัญหานี้นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นระหว่างสโมสรกับทีมชาติอยู่เป็นประจำ แถมกีฬาบาสนั้นผู้เล่นตัวหลัก 1 คนย่อมมีผลสำคัญมาก ๆ ต่อทีมมันจึงทำให้หากทีมพวกเขาขาดผู้เล่นตัวหลักไป นั่นย่อมหมายถึงผลกระทบในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการที่ทีมทำผลงานไม่ดีจนไม่ได้ไปเพลย์ออฟ หรือ เรทติ้งทีวีที่ได้จากการถ่ายทอดสดตกลง สปอนเซอร์น้อยลง รวมไปถึงผู้ชมน้อยลง ซึ่งเหตุผลดังกล่าวนี้มันล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งนั้น
แต่สิ่งที่น่าเจ็บปวดที่สุดนั่นก็คือ สหพันธ์บาสเกตบอลของชาติต่าง ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องรับพิเศษ
หรือ จ่ายเงินชดเชยให้กับรรดาเหล่าผู้เล่นที่บาดเจ็บในตอนติดทีมชาติ ซึ่งกฎข้อนี้ค่อนข้างที่จะแตกต่างกับ ฟีฟ่า ที่เป็นวงการฟุตบอลตรงที่ว่า พวกเขาจะมีการจ่ายเงินให้กับบรรดาเหล่านักบอลที่ได้ลงเล่นทีมชาติ รวมถึงยังออกค่ารักษาพยาบาลบางส่วนให้กับผู้เล่นที่เกิดบาดเจ็บระหว่างแข่งอีกด้วยและสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือ สหพันธ์บาสเกตบอลของชาติต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ ต่างจากวงการฟุตบอลที่สหพันธ์ฟุตบอล
และเพราะการไม่จ่ายเงินใด ๆ เลยนี่แหละมันเลยทำให้บรรดาเหล่าโค้ชของแต่ละทีมต่างเห็นตรงกันว่า มันไม่ประโยชน์อะไรเลยที่จะส่งผู้เล่นหลักของพวกเขาไปติดทีมชาติ
และแน่นอนว่ามันไม่ใช่เพียงแค่โค้ชที่คิดอย่างนั้น เพราะว่าบรรดาเหล่าผู้เล่นเองก็คิดแบบนั้นเช่นกัน เพราะพวกเขานั้นต้องลงเล่นในเกมลีกเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนกว่าในฤดูกาลปกติ และอีก 3 เดือนในการเพลย์ ออฟ แถมเมื่อจบฤดูกาลไปแล้วพวกเขายังจำเป็นที่จะต้องเล่นในการแข่งขัน ซัมเมอร์ ลีก ของทีมที่บางคนจำเป็นที่จะต้องเล่นเพื่อพิสูจน์ว่าเขายังสมควรอยู่กับทีมนี้ต่อ รวมถึงบรรดาเหล่าผู้เล่นหน้าใหม่ก็ต้องเรียนรู้ทักษะ และ เกมอื่น ๆ ต่อในช่วงพรีซีซั่น แถมยังมีการเดินสายโปรโมทให้กับลีก และ สปอนเซอร์ อีกต่างหาก จึงทำให้บรรดาเหล่านักบาสเกตบอลต้องอยู่กับการซ้อม การแข่ง และระเบียบวินับแทบตลอดทั้งปี จนทำให้บางทีพวกเขาก็เลือกที่จะใช้เวลาว่างเหล่านี้พักอย่างคุ้มค่า และ สุดเหวี่ยงที่สุด และนี่แหละก็คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตัวผู้เล่นเองก็มีส่วนที่ไม่อยากจะเข้าไปติดทีมชาติ
ส่วนอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้เหล่าสตาร์ดัง ๆ ไม่อยากติดทีมชาตินั่นก็คือ ค่านิยมของการคว้าแชมป์นั่นเอง เพราะว่าการคว้าแชมป์ NBA นั้นผลตอบแทนที่ได้มันมีมากมายไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง หรือ เงินทอง แต่ถึงแบบนั้นเองเวทีระดับชาตินี้เองก็ไม่ได้แย่ไปซะหมด เพราะว่าเวทีนี้เองยังถือได้ว่าเป็นอีกเวทีแจ้งเกิดให้กับบรรดาเหล่าสตาร์เกรดรอง ๆ มาแล้วอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น ไคลย์ คุซม่า จาก แอลเอ เลเกอร์ส รวมถึง เจสัน เททั่ม จาก บอสตัน เซลติกส์ dunkswin9