อย่างที่หลาย ๆ คนน่าจะพอทราบกันมาบ้างลีกบาส NBA นั้นถือได้ว่าเป็นลีกบาสที่ค่อนข้างจะแข็งแกร่ง และ เป็นที่ใฝ่ฝันของบรรดาผู้เล่นทั่วโลกที่อยากจะลองก้าวมายืนอยู่บนเวทีบ้าง แต่ก็ใช่ว่าความฝันของทุก ๆ คนจะสามารถเป็นจริงได้ แต่ทาง NBA เองก็ไม่ได้นิ่งนอนเฉยกับบรรดาเหล่านักบาสที่มีความฝันเหล่านี้ มันจึงทำให้ทาง NBA ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า NBA G-League ขึ้น
โดยคำถามแรกที่หลาย ๆ คนจะต้องงงอย่างแน่นอนเลยนั่นก็คือมันคืออะไร ซึ่ง NBA G-League นั้นชื่อเต็ม ๆ ของมันก็คือ
NBA Development League หรือ D-League แต่ทว่าหลังจากนั้นเครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Gatorade ก็ได้ตัสินใจมาเป็นผู้สนับสนุนหลักของลีกนี้ จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเอาใจสปอน์เซอร์เป็น NBA G-League แทน เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นเอง
โดย NBA G-League นั้นเปรียบเสมือนกับลีกน้องของ NBA ที่ให้บรรดาเหล่าทีมใหญ่ ๆ สามารถพัฒนาผู้เล่นที่คิดว่ามีศักยภาพ แต่ยังไม่พร้อมที่ก้าวเข้าสู่เวที NBA รวมถึงยังเป็นแหล่งที่บรรดาเหล่าแมวมองต่างเข้ามาส่องหาผู้เล่นที่ต้องการจะดึงเข้าทีมในอนาคตอีกด้วย แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะว่า NBA G-League นี้ยังเปรียบเสมือนสถานที่เรียกความฟิตของนักกีฬาหลาย ๆ จึงทำให้ภาพรวมของ NBA G-League นั้นเปรียบเสมือนกับลีกรองของ NBA นั่นเอง
โดยระบบ NBA G-League นั้นเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ฤดูกาล 2001 – 2002 ซึ่งจุดประสงค์หลักนั้นก็เพื่อสร้างระบบที่จะสามารถรองรับ และ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของลีกให้ดียิ่งขึ้น โดยทุก ๆ ระบบของ NBA G-League นั้นเรียกได้ว่าเหมือนกับลีกหลักอย่าง NBA ทุกประการไม่ว่าจะเป็นการดราฟต์ การเทรด ฤดูกาลปกติ ฤดูกาลเพลย์ออฟ เพียงแต่ว่าในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ จากสั้นกว่าลีกหลักนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วระยะเวลาของ NBA G-League จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และจะลากยาวมาถึงประมาณกลายเดือนเมษายนในแต่ละปี
อีกทั้งบรรดาเหล่าทีม NBA ยังสามารถมีทีมใน NBA G-League ในสังกัดเป็นของตัวเองได้อีกด้วย โดยจะเรียกว่า affiliated team ซึ่งจะให้อธิบายง่ายมันก็เปรียบเสมือนกับทีมสำรองของฟุตบอลนั่นแหละ โดยทีมใน NBA สามารถที่จะเซ็นสัญญากับผู้เล่นในทีม NBA G-League ของตัวเองได้ โดยการเซ็นนี้จะเรียกว่าการ Call Up และในทางกลับกันทางทีม NBA ก็สามารถที่จะส่งผู้เล่นระดับบนของตัวองลงมาสู่ลีก NBA G-League ได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้จะใช้ศัพท์ที่เรียกว่า Assignment
นอกจากนั้นแล้วใน NBA G-League จะมีสิทธิที่เรียกว่าการทำ Showcase
ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้บรรดาเหล่าผู้บริหาร หรือ แมวมอง มาดูฟอร์มการเล่นของผู้เล่นในลีก NBA G-League ซึ่งหากทีมไหนสนใจ พวกเขาก็สามารถที่จะเลือกเซ็นสัญญากับผู้เล่นคนนั้นไปเป็นการถาวรได้เลย โดยการเซ็นสัญญานี้สามารถเซ็นได้กับผู้เล่นทุก ๆ ทีม
อีกทั้งในปี 2017 ทางลีก NBA เองก็ยังมีการอุนมัติโควตาพิเศษนอกเหนือจากผู้เล่นหลัก 15 คนภายในทีมให้กลายเป็น 17 คน โดยอีก 2 คนที่เพิ่มเข้ามาจะต้องอยู่ภายใต้สัญญาที่เรียกว่า Two-Way Contract ซึ่งผู้เล่นที่อยู่ในสัญญานี้จะเล่นได้ทั้งลีก NBA และ NBA G-League ที่อยู่สังกัดเดียวกับทีมที่เซ็นสัญญา เพียงแต่ว่าผู้ที่เซ็นสัญญานี้จะเล่นให้ทีมใน NBA ได้ไม่เกิน 45 วันต่อสัญญา โดยเงื่อนไขหลัก ๆ ของสัญญานี้ก็คือ ผู้เล่นที่จะสามาถเซ็นสัญญาประเภทนี้ได้จะต้องมีประสบการณ์เล่นในลีกไม่เกิน 4 ปี นับตั้งแต่ถูกดราฟต์ตัวเข้ามาสู่ลีก NBA
และในปัจจุบันก็เรียกได้ว่าผู้เล่นในลีก NBA กว่า 50 เปอร์เซ็นต์นั้นเคบผ่านการเล่น NBA G-League มาก่อนแทบทั้งนั้น โดยผู้เล่นหลาย ๆ คนก็พัฒนาจากจุดนั้นจนกลายมาเป็นผู้เล่นระดับ Top ของลีกยกตัวอย่างเช่น Eric Bledsoe , Reggie Jackson หรือ Hassan Whiteside
ส่วนจำนวนทีมใน NBA G-League จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ทีม ซึ่งแต่ละทีมก็จะอยู่ภายใต้สังกัดทีม NBA ทั้งสิ้น จะมีเพียงแต่ เดนเวอร์ นักเก็ตส์ กับ พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส เท่านั้นที่ไม่ได้มีทีม NBA G-League ของตัวเอง โดยจำนวนทีมของ NBA G-League จะมีทั้งสิ้น 28 ทีมด้วยกัน โดนจะแข่งกันในฤดูกาลปกติทั้งหมด 50 นัด ก่อนที่คัดทีมเข้าสู่รอบ Playoffs ซึ่งจะใช้ระบบแพ้คัดออกเลย ส่วนนัดชิงจะเป็นการไป-กลับ 3 นัด เพื่อหาแชมป์
ส่วนถ้าจะถามว่าคุณสมบัติของผู้เล่นที่จะได้เข้าสู่ NBA G-League นั้นจะต้องมีอะไรบ้าง เราก็ต้องตอบว่ามันค่อนข้างที่จะง่ายกว่าการเข้าสู่ลีกหลักอย่าง NBA อยู่พอสมควร โดยเงื่อนไขก็ง่ายแสนง่ายนั่นก็คือ ขอแค่มีอายุครบ 18 ปี คุณก็สามารถมีสิทธิเข้าคัดเลือกการดราฟต์ NBA G-League ได้แล้ว และหลังจากนั้นทางลีกก็จะคัดสรรผู้ที่มีแววพอจะเล่นในลีก NBA ได้เพื่อกระจายไปสู่ทีมใน NBA G-League อื่น ซึ่งหากผู้เล่นเหล่านั้นสามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างร้อนแรง ผู้เล่นคนนั้นก็มีสิทธิที่จะได้ทำการลงทะเบียนสู่การดราฟต์เข้าสู่ NBA
ส่วนโครงสร้างของทีมใน NBA G-League ก็จะมีความยืดหยุ่นกว่าทีมในลีก NBA อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการหาผู้เล่นเข้าทีม โดยแต่ละทีมจะผู้เล่นในสังกัดอย่างน้อย 10 คน ซึ่งสามารถหาผู้เล่นได้ดังนี้
- โควต้า Two-Way Contract 2 คนต่อทีม
- โควต้าผู้เล่นที่อยู่ในสังกัดทีม 2 ฤดูกาลหลังสุด
- โควต้าของผู้เล่นในทีม NBA ที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 15 คยแรกก่อนฤดูกาลปกติจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งแต่ละทีมจะมีผู้เล่นประเภทนี้ได้สูงสุด 4 คนต่อทีม
- โควตาสำหรับผู้เล่นท้องถิ่น ที่มีแววและอยากทำสัญญากับทีม โดยแต่ละทีมสามารถมีได้สูงสุด 4 คน
- โควตาสำหรับผู้เล่นที่ผ่านการดราฟต์ โดยแต่ละทีมจะมีสิทธิ์ดราฟต์ 4 รอบต่อปี
- โควตาสำหรับการเซ็นผู้เล่นในช่องทางอื่น ๆ slothub888s