หากพูดถึงการทำคะแนนของเกมการแข่งขันบาสเก็ตบอลแล้ว วิธีการทำคะแนนนั้นก้มีหลากลายรูปแบบแต่สิ่งที่เราคิดว่าทุกคนต้องตราตรึง และ เป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายการค้าของวงการบาสเก็ตบอล NBA เลยนั่นก็คือ การ Dunk นั่นเอง ซึ่งนักบาสแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีลีลา Dunk ที่เด็ดดวงสะแด่วแห้วแตกต่างกันไปตามแต่จังหวะการเล่น หรือ สไตล์ของพวกเขา
และเพราะการ Dunk ซึ่งการเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของบาส NBA นี้เองที่ทำให้ ได้มีการคิดค้นการแข่งขัน Dunk ขึ้นมา โดยการแข่งนี้จะเป็นหนึ่งในการแข่งที่เกิดขึ้นในวันการแข่งขันของ NBA All Star โดยการแข่งนี้จะมีชื่อว่า Slam Dunk Contest
โดยการแข่งขันนี้จะเป็นที่หลาย ๆ ทั่วโลกต่างก็จับจ้อง
เพราะว่ามันจะเป็นการโชว์ความสามารถทางร่างกายของบรรดาเหล่านักบาส รวมถึงไอเดียสุดแหวกในการพิสูจน์ตัวตนของพวกเขา ทว่าตลอดเวลาเกือบ 40 ปีของการแข่งขันรายการนี้ แม้จะมีหลายปีที่ถูกยกขึ้นหิ้ง เข้าข่ายตำนานศึกสแลมดังก์ แต่มีอยู่ปีหนึ่ง ที่ทั้งสื่อและคนในวงการแม่นห่วงต่างยอมรับว่า คือปีที่เปลี่ยนโลกบาสเกตบอล โดยเฉพาะการดังก์ไปตลอดกาล ซึ่งวันนี้เราขอพาคุณย้อนไปช่วงเวลาที่สร้างแรงกระเพื่อมนั้นกัน
หากจะกล่าวถึงการแข่งขันที่มีมาอย่างยาวนานอย่าง Slam Dunk Contest เราต้องขอพาคุณย้อนรำลึกความหลังนานไปถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 เลยทีเดียว เพราะว่าในตอนนั้นเพิ่งได้มีการรวมลีกบาสเก็ตบอลอย่าง NBA และ ABA เข้าด้วยกันมาเป็นหนึ่งเดียว ต่างจัดการแข่งขันดวลดังก์ขึ้นมา ทว่าจัดได้เพียง 1-2 ปีก็เงียบหายไป กระทั่ง NBA รื้อฟื้นกลับมาจัดใหม่ในปี 1984 พร้อมกับบันทึกว่า นี่คือศึกสแลมดังก์ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ
และแน่นอนว่าเมื่อมันมีการแข่งขันสแลมดังก็ขึ้น บรรดาเหล่าแฟน ๆ ที่ชื่นชอบและสะใจในการเห็นเหล่านักบาสคนโปรดของตัวเองยัดห่วงก็ต่างให้การตอบรับอย่างดีเยี่ยม จนทำให้เรตติ้งในการถ่ายทอดสดสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน และเราก็เชื่อเลยว่าทุกวันนี้แฟนกีฬาก็ยังคงจดจำการดวลเดือดระหว่าง ไมเคิล จอร์แดน กับ โดมินิก วิลกินส์ ในปี 1985 และ 1988 รวมถึงการทำลายความเชื่อว่า คนตัวเล็กดังก์ไม่ได้
ทว่าในช่วงทศวรรษที่ 1990s ความนิยม
ของศึกสแลมดังก์กลับลดลงอย่างน่าใจหาย เมื่อเหล่าสตาร์ดังไม่กล้าที่จะลงสนาม เพราะกลัวจะเสียชื่อหากไม่ได้แชมป์ ซึ่งเหตุผลดังกล่าว ทำให้ NBA ตัดสินใจงดจัดแข่งสแลมดังก์ ในศึกออลสตาร์ปี 1998 ด้วยเหตุผลด้านผลประโยชน์ถึง 2 ปีเต็ม จนในที่สุดบอร์ดของบริหารของ NBA ก็ได้กลับมาจัดศึกสแลมดังก์อีกครั้งในปี 2000
และการกลับแข่งขันในครั้งนี้ทาง NBA ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่โดยการดึงบรรดาเหล่าผู้เล่นดาวรุ่งที่กำลังโชว์ฟอร์มแรงมาโชว์ลีลาให้แฟน ๆ ได้เห็นกัน โดยตอนก็ได้ 6 ผู้เล่นอย่าง วินซ์ คาร์เตอร์ และ เทรซี่ แม็คเกรดี้ จาก โตรอนโต้ แรปเตอร์ส, สตีฟ ฟรานซิส จาก ฮิวส์ตัน ร็อคเก็ตส์, เจอร์รี่ สแต็คเฮาส์ จาก ดีทรอยต์ พิสตันส์, แลร์รี่ ฮิวจ์ส จาก ฟิลาเดลเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซอร์ส และ อันทวน เจมิสัน จาก โกลเด้นสเตท วอร์ริเออร์ส
และทันทีที่เวลาแห่งการโชว์เดินทางมาถึง เพียงแค่ Dunk แรกของ สตีฟ ฟรานซิส ก็เรียกเสียงฮือฮาทันที ด้วยการโยนบอลขึ้นฟ้า ปล่อยให้เด้งพื้น แล้วดังก์ด้วยมือเดียว แม้จังหวะที่บอลเข้ามือจะไม่สมบูรณ์แบบนัก แต่ด้วยการที่กระโดดได้สูงถึง 40 นิ้ว ก็ทำให้กรรมการทั้ง 5 คน ยกป้ายรวมกันได้ 45 คะแนนให้กับเขา รวมถึงทั้งสนามต่างตื่นตากับลีลาที่เพิ่งได้เห็นด้วย
และเพราะผลงานอันน่าตกตะลึงนี้เองที่ได้กลายเป็นแรงกดดันให้ วินซ์ คาร์เตอร์ ต้องลืมแผนที่ตัวเองจะทำตั้งแต่แรกไปในทันที เขาจึงได้ปรับเปลี่ยนแผนการ Dunk ของเขา ซึ่งลีลาของเขานั่นก็คือ การกระโดดหมุนตัว 360 องศาแบบรีเวิร์ส ก่อนใช้มือขวากระแทกลูกลงห่วงไป ซึ่งภาพนี้มันช่างเป็นอะไรที่ทำให้คนดูในสนามต่างส่งเชียร์กันอย่างบ้าคลั่ง
ซึ่งผลงานอันดุดันนี้เองที่เรีกยได้ว่ามันได้ปลุกกระแสของ Slam Dunk Contest ให้กลับมาเป็นที่ฮือฮาอีกครั้ง ก่อนที่การแข่งขันนั้นผู้ชนะจะตกไปเป็นของ วินซ์ คาร์เตอร์ นั่นเอง
และผลงานของคาร์เตอร์นั้นครั้งนั้นเองที่ทำให้การแข่งขันสแลมดังก์สู่มิติใหม่ นั่นคือการมาถึงของไอเดียสุดครีเอต ที่เหล่านักบาสสายดังก์แห่ง NBA จะเริ่มมีการใช้คน หรือมาสคอตช่วย รวมถึงการใช้พรอบเสริม แบบที่เราเห็น ดไวท์ ฮาเวิร์ด ใส่ชุดซูเปอร์แมนดังก์ในปี 2008 และ 2020 รวมถึงการเหินข้ามรถ ของ เบลค กริฟฟิน ในปี 2011
นอกจากผลกระทบในวงการบาสแล้ว มันยังกลายเป็นผลกระทบถึงเหล่าบรรดาแฟน ๆ ที่เมื่อได้เห็นการ Dunk ของ วินซ์ แล้ว พวกเขาก็ต่างพากันออกมานอกบ้าน เพื่อที่จะโชว์ลีลา Dunk สุดสะแด่วแห้ว แล้วยิ่งสมัยนี้ที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านของการบันทึกวิดีโอแล้ว มันจึงยึ่งกลายเป็นช่วงเวลาแห่งการฉายแสงให้กับบรรดาเหล่า ยูทูบเบอร์
และที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงก็คือ ทุกวันนี้ เหล่านักดังก์อาชีพ มีโอกาสได้ร่วมงานกับสตาร์แห่งวงการแม่นห่วง ในการรังสรรค์ท่าดังก์เพื่อไปใช้ในการแข่ง เหมือนอย่างที่ ชัค มิลลาน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Flight Brothers ทีมนักดังก์อาชีพชื่อดัง เคยสอน เทอร์เรนซ์ รอสส์ และ โดโนแวน มิตเชลล์ จนคว้าแชมป์สแลมดังก์มาแล้ว แถมปัจจุบัน เขายังมีโอกาสได้ร่วมงานกับทาง NBA เพื่อช่วยผู้เข้าแข่งขันสแลมดังก์ออกแบบท่าใหม่ ๆ ให้คนดูได้ตื่นเต้นอีกด้วย dunkswin9
เครดิต : เว็บสล็อต