สำหรับแฟน ๆ บาสเกตบอลแล้ว ถ้าจะชมการแข่งชันบาสที่ตื่นเต้น และ เร้าใจแบบสุด ๆ เราก็เชื่อเลยว่าใคร ๆ ก็ต้องแนะนำว่าควรจะดูกีฬาบาสเกตบอล NBA อย่างแน่นอน แต่ทว่าสำหรับแฟนบาสที่สนุกเร้าใจกับเกมการถ่ายทอดสด รวมถึงการแข่งขันของผู้เล่นที่ต้องเข้าห่ำหั่นกันเพื่อชิงความเป็นแชมป์อยู่นั้น กลับมีอีกคนหนึ่งที่ยิ้มมากยิ่งกว่า โดยผู้ที่ยิ้มอยู่นั่นก้คือ บรรดาเหล่านายทุนที่เป็นเจ้าของทีมนั่นเอง
ซึ่งเราต้องยอมรับกันเลยว่าจริง ๆ ว่าการจะทำธุรกิจต่าง ๆ ให้มันเห็นผลที่สุดนั่นก็คือ การลงทุนเพื่อให้เงินมันทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง และ หากจะทำให้มันสบายมากกว่านั่นก็คือ การดันตัวเองให้ขึ้นอยู่จนบนสุดของสายป่านเหล่านั้น และกลายเป็นเสือนอนกิน โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากนักเงินก็วิ่งเข้ามาสู่กระเป๋าเอง ซึ่งในประวัตศาสตร์ของบาสเกตบอล NBA นั้นเคยมีนักธุรกิจคนหนึ่งที่สามารถทำแบบนั้น โดยเขาสามารถได้เงินถึง 24,000 ล้านบาท มาเข้ากระเปาแบบไม่ต้องทำงานเลยด้วยซ้ำ
ซึ่งก่อนที่เราจะไปรู้กันว่าเขาคนนั้นคือใคร เราต้องมาเริ่มย้อนรำลึกไปถึงที่มาที่ไปของลีกบาสเกตบอล
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง NBA กันก่อน โดยลีกนี้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1946 ซึ่งในตอนตัวลีก็ยังไม่ได้มีความนิยมเป็นที่แพร่หลายเหมือนดั่งเช่นปัจจุบันนี้ หนำซ้ำในตอนนั้นทาง NBA ยังต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งคนสำคัญที่ตั้งลีกขึ้นมาแข่งกับพวกเขาอย่าง บาสเกตบอล ABA เสียด้วย
ซึ่งในขณะนั้นทาง NBA พยายามที่จะคงความเป็นออริจินอบ ด้วยการเล่นบาสเกตบอลแบบคลาสสิคดั้งเดิมเอาไว้ แต่ทว่าในทางตรงกันข้ามตัวลีก ABA นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหลาย ๆ เข้าไปเช่นการมีเส้น 3 คะแนน เพื่อให้สำหรับเหล่านักกีฬาที่ยิงไกลแม่นได้โชว์ทักษะ รวมไปถึงยังกำหนดให้แต่ละทีมต้องมีเชียร์ลีดเดอร์ และ มีโชว์ในช่วพัก ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ลีก ABA นั้นมีความเอนเตอร์เทนที่สูงกว่า NBA พอสมควร หนำซ้ำลีก ABA นี้เองทนี่แหละที่เป็นต้นกำเนิดของการแข่งขัน สแลม ดังค์ คอนเทสต์
แต่แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่มันจีรังไม่ได้ตลอด เพราะว่าแม้แรก ๆ ลีก ABA นั้นจะได้รับความนิยมอย่างมากจนทำให้ NBA ต้องตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้แนวทางหลาย ๆ อย่างตาม ABA แต่ทว่าสิ่งที่ทำให้ตัวลีกของ ABA ต้องเจอปัญหาอย่างหนักนั่นก็คือ พวกเขามีแค่เกมในสนามให้ดูเท่านั้น เพราะสถานทีโทรทัศน์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการถ่ายทอดสดเกมถูก NBA ยึดเอาไว้หมดเป็นที่เรียบร้อย
ในโลกแห่งธุรกิจนั้นมันจำเป็นที่จะต้องหวังเพิ่งสายป่านที่ยาวพอ แต่เพราะการถูก NBA ตัดช่องทางการถ่ายทอดสดนี้เองที่ทำให้สุดท้ายแล้ว ABA เองก็อาจที่จะหาเงินเข้ามาหมุนในธุรกิจได้ จนทำให้พวกเขาจำเป็นที่จะต้องยุบทีมลงไปเรื่อย ๆ จากทั้งหมด 11 พวกเขาต้องยุบลงมาจบเหลือเพียงแค่ 7 ทีมเท่านั้น โดยทีมที่เหลือรอดทั้ง 7 ทีมนั้นก็คือ ทีมอย่าง
ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส , อินเดียน่า เพเซอร์ , เดนเวอร์ นักเกตส์ , นิวยอร์ก เน็ตส์ หรือ บรูคลิน เน็ตส์ ในปัจจุบัน ,
เวอร์จิเนีย สไควร์ , เคนตั๊กกี้ โคโลเนลส์ และ สปิริต ออฟ เซนต์หลุยส์
และพอเหลือเพียงแค่ 7 ทีม ABA ก็ต้องเผชิญหน้ากับอีกหนึ่งความยากลำบากนั่นก็คือ ทีมของพวกเขาน้อยเกินไป และส่งผลให้ลีกไม่สามารถที่จะไปต่อได้ ซึ่งจังหวะนั้นเองทาง NBA เองก็ได้เห็นช่องทางทำมาหากินเพิ่ม พวกเขาจึงยืนข้อเสนอในการช่วยอุ้มทีมดังกล่าจากลีกนี้เป็นจำนวน 4 ทีมด้วยกัน โดยมอบเขามอบให้ทั้ง 7 ทีมไปตกลงกันเองว่า 4 ทีมที่จะได้เข้าสู่ NBA นั้นจะมีทีมอะไรบ้าง
ซึ่งตอนนี้หลาย ๆ คนน่าจะถามว่าทำไม NBA ถึงไม่ยอมอุ้มทีมทั้งหมดเลย คำตอบมันก็ง่ายแสนง่าย เพราะว่าในตอนนั้นภายในลีก NBA นั้นมีทีมที่ลงแข่งขันอยู่แล้วทั้งหมด 18 ทีม ซึ่งถ้าเพิ่มเข้ามาอีก 4 ทีมก็จะเป็น 22 ทำให้เป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับที่ลุ้นสนุกนั่นเอง
ซึ่งทีมในลีก ABA เองก็รับรู้ถึงสัญญาณไม่ค่อยดีของ ABA มาสักพักหนึ่งแล้ว จึงทำให้การได้ย้ายไปอยู่
กับลีกที่ใหญ่กว่าอย่าง NBA มันเปรียญเส้นทางโกยเงินครั้งใหญ่ แต่ทว่าพวกเขาก็รับรู้ว่ามันมีเพียงแค่ 4 ทีมเท่านั้นที่จะได้รับโอกาสนี้ ซึ่งทีมที่ไม่ได้รับโอกาสนี้มันก็เท่ากับว่าพวกเขาจะตายไปพร้อมกับลีก ABA
และแน่นอนว่าปัญหาในขั้นตอนนี้มันก็เกิดขึ้น เพราะว่าใครกันละที่จะกล้ายอมยุบทีมทิ้ง ซึ่งทีมแล้วที่ขอบ๊ายบายวงการบาส และ Say No ไม่ยอมไปต่อที่ NBA นั่นก็คือทีมอย่าง เวอร์จิเนีย สไควร์ โดยพวกเขาได้ให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาพวกเขาขาดทุนมาเยอะแล้ว ดังนั้นต่อไปก้าวไปยังลีก NBA สถานการณ์พวกเขาเองก็คงไม่ดีขึ้นเท่าไหร่นัก จึงทำให้ทีมอย่าง เวอร์จิเนีย สไควร์ กลายเป็นที่แรกที่ยอมยุบทีมทิ้งไป
ส่วนทีมที่ 2 ซึ่งไม่ยอมไปต่อในลีกอย่าง NBA นั่นก็คือทีมอย่าง เคนตั๊กกี้ โคโลเนลส์ โดยตอนนั้นพวกเขามีเจ้าของก็คือ จอห์น บราวน์ ผู้ซึ่งเป็นประธานบริษัท KFC โดยเขาได้ตัดสินใจที่จะยุบทีมให้ แต่มีเงื่อนไขก็คือ 5 ทีมที่เหลือจะต้องรวมเงินกันแล้วจ่ายเป็นค่าชดเชนให้กับเฟรนไชส์บาสของเขาเป็นมูลค่า 3.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเงื่อนไขนี้ก็เป็นเงือนไขที่ทั้ง 5 ทีมที่เหลือทำการตกลง และทำให้ทีมอย่าง เคนตั๊กกี้ โคโลเนลส์ กลายเป็นทีมที่ 2 ที่ทำการยุบทีมไป
ทำให้สถานการณ์ในตอนนี้เหลือเพียงแค่ 5 ทีม โดยขอแค่ทีมใดทีมหนึ่งยุบทีม ทีมที่เหลือก็จะได้เดินเฉิดฉายในลีก NBA ต่อในทันที มันเลยทำให้มีการคุยกันว่าหากมีทีมใดทีมหนึ่งยอมยุบทีมแล้วละก็ บรรดาเหล่าทีมที่เหลือก็พร้อมที่จะยอมจ่ายเงิน 3.30 ล้านให้เหมือนกับที่พวกเขายอมมอบให้กับทีมอย่าง เคนตั๊กกี้ โคโลเนลส์ เลย แต่แน่นอนแหละว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละแฟรนไชส์เองก็มีความหยิ่งในศักดิ์ศรี และ พวกเขาเองก็อยากจะเข้าสู่เวที NBA เหมือกัน
ซึ่งหลังจากที่คุยกันอยู่นาน คู่พี่น้องตระกูลซิลน่า ซึ่งเป็นเจ้าของทีม สปิริต ออฟ เซนต์หลุยส์ ก็ได้ยื่นของเสนอว่า ทีมของพวกเขานี่แหละจะเป็นฝ่ายที่ยุบทีมเอง เพื่อให้ที่เหลือได้ไปต่อในเวที NBA แต่ทว่าเขาจะไม่ได้ยอมรับเงิน 3.3 ล้านเหมือนดั่งกรณีของ เคนตั๊กกี้ โคโลเนลส์ แต่พวกเขากลับมีอีกหนึ่งเงื่อนไขนั่นก็คือ เมื่อ 4 ทีมได้เข้าสู่ลีก NBA แล้ว เงินจากการถ่ายทอดสดทางจากโทรทัศน์ของทั้ง 4 ทีม จะต้องแบ่งมาให้พวกเขาเป็นจำนวน 14%
ซึ่งแต่ละทีมจะยอมรับข้อเสนอนี้หรือไม่ และ พวกเขาจะได้ไปต่อในเวทีอย่าง NBA อย่างไร เอาไว้เดี๋ยวมาอ่านกันต่อในบทความหน้า