สิ่งที่เป็นความสนุกของเกมกีฬาในระบบลีกอีกอย่างหนึ่งกันคือ บรรดาทีมหน้าใหม่ ๆ ที่พร้อมจะโลดแล่นขึ้นมายังลีกสูงสุดเพื่อโชว์ความแข็งแกร่ง และ ฝีไม้ลายมือให้พวกเราได้เห็นกันนั่นเอง โดยสิ่งที่จะทำให้บรรดาเหล่าทีมหน้าใหม่ ๆ ได้ขึ้นมาแจ้งเกิดบทเวทีลีกสูงสุดได้นั่นก็คือ ระบบการเลื่อนชั้น และ ตกชั้น นั่นเอง
ซึ่งเพราะระบบเหล่านี้นี่เองที่ทำให้แต่ละทีมในลีกต่างก็ต้องพยายามอย่างเต็มเพื่อที่จะอยู่ให้รอดได้ในลีกสูงสุด ซึ่งการอยู่รอดบนลีกสูงสุดเหล่านี้มันไม่ใช่เพียงแค่การสร้างเกียรติยศ หรือ ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ให้กับทีมเพียงเท่านั้น แต่มันยังเป็นการมูลค่าทางการตลาดให้กับทีมทั้งจากค่าถ่ายทอดสด และ สิ่งอื่น ๆ ที่ตามมาอีกด้วย
มันจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมระบบของการเลื่อนชั้นและตกชั้นถึงได้กลายเป็นมนต์เสน่ห์อีกหนึ่งอย่าง
ของวงการกีฬา แต่ทว่าสำหรับบาสเก็ตบอลนั้นมนต์เสน่ห์แบบนั้นมันกลับไม่มีทาเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะว่าลีกบาสเก็ตบอล NBA นั้นมันกลับไม่มีคำว่า ตกชั้น นะสิ
ก่อนที่เราจะไปเริ่มต้นค้นหาเหตุผลกันนั้นเราจะพาทุกคนมาเข้าใจกับคำว่า แฟรนไชส์ ในกีฬาของชาวอเมริกันก่อน ซึ่ง
บาสเกตบอล NBA นั้นถือได้ว่าเป็น 1 ในการแข่งขันกีฬายอดฮิตของชาวอเมริกันที่ประกอบไปด้วย 4 กีฬาอย่าง NFL หรือ อมเริกันฟุตบอล , MBL หรือ ลีกกีฬาเบสบอล และ NHL ลีกกีฬาฮ็อคกี
โดยทั้ง 4 กีฬานี้ได้มีรูปแบบการแข่งที่อิงมาจากทีมที่ลงแข่งขันเป็นหลัก โดยไม่มีได้มีกำหนดจำนวนทีมในลีกตายตัว จึงทำให้สามารถที่จะเพิ่ม หรือ ลดได้แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานการณ์ในช่วงนั้น ๆ ซึ่งการโหวตนี้จะถูกโหวตของสมาชิกในลีก ที่มีชื่อเรียกว่า ระบบแฟรนไชส์
ซึ่งระบบนี้มันจะไม่เหมือนกับระบบที่เราได้เห็นตามกีฬาของยุโรปตรงที่ สโมสรกีฬาต่าง ๆ ในยุโรปนั้นจะมีความผูกผันกับถิ่นฐานดั่งเดิมของพวกเขา เช่น ทีมอย่าง เซลติก ถิ่นฐานของสโมสรของก็จะตั้งอยู่ที่ เซลติก และมีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของเมืองเซลติกมาใช้ออกแบบทั้งตราสโมสร และ สิ่งอื่น ๆ
แต่ทว่าระบบลีกของอเมริกากลับไม่ใช่แบบนั้น เพราะทางลีกของอเมริกานั้นให้ความสำคัญกับตัวทีมมากว่า นั่นก็หมายความว่า แฟรนไชส์ของทีมจะเป็นฝั่งที่เดินเข้าไปจับมือกับเมืองนั้น ๆ เอง และหากเกิดความขัดแย้งหรือมีปัญหากันทางแฟรน์ไชส์นั้นสามารถที่จะเลือกเดินออกจากเมืองนั้นไป เพื่อหาเมืองใหม่ที่คิดกว่าดีกว่าได้
ถ้าคุณยังนึกภาพไม่ออก เราจะขอยกกรณีตัวอย่างให้คุณฟังนั่นก็คือ กรณีของ โกลเด้น สเตท วอร์ริเออร์ส ซึ่งแต่ก่อนทีมนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซาน ฟรานซิสโก วอร์ริเออร์ส จนกระทั่งความเปลี่ยนแปลงก็มาถึงเมื่อปี 1971 พวกเขาต้องการทำการย้ายไปเล่นที่เมือง โอคแลนด์ เนื่องจากพวกเขาต้องการหาสนามใหม่ที่ความทันสมัยกว่า ซึ่งการย้ายเมืองในครั้งนี้นี่เองพวกเขาก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อทีม แต่ทว่าพวกเขาเองก็ยังไม่ได้ต้องการที่จะทิ้งแฟน ๆ กลุ่มเดิม มันจึงทำให้พวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น โกลเด้น สเตท วอร์ริเออร์ส เพื่อสือถึงการเป็นทีมของรัฐแคลิฟอร์เนียทั้งหมด
ซึ่งเพราะเหตุผลดังกล่าวนี้เองจึงทำให้ระบบลีกของอเมริกานั้นต้องรับประกันว่าทุกทีมที่มีอยู่จะได้ลงสนามในทุกฤดูกาล
จนทำให้ไม่มีการประเมินผลการคงอยู่ในลีกตามการแข่งขัน เพื่อที่มันจะเป็นการับรนองได้ว่าทุก ๆ ทีมจะมีสิทธิเท่ากัน ทั้งด้านการแข่งขัน และ รายได้
แต่ในขณะเดียวกันตัวของทีมในลีกเองก็ต้องมีความมั่นใจว่า ทีมของพวกเขาเองมีคุณภาพมากพอที่จะดึงดูดเอาคะแนนความนิยมในเมืองได้อย่างมพอ เพราะไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นแบบกรณีของทีมในเมือง ซีแอตเทิล ซึ่งในเมืองนี้เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของอเมริการ จึงทำให้มีทั้งทีม NFL และ ทีม MBL รวมถึงทีม NHL แต่ทว่าเมืองแห่งนี้กลับไม่มีทีมของ NBA เนื่องจาก ในตอนที่ก่อนตั้งทีม ที่มีชื่อว่า ซีแอตเทิล ซูเปอร์โซนิคส์ ขึ้น กระแสความนิยมของชาวเมืองกลับไม่มากเท่าที่ควร จนทำให้พวกเขาจำเป็นที่จะต้องไปหาเมืองใหม่นั่นก็คือ โอกลาโฮมา ซิตี้ และ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอกลาโฮมา ซิตี้ ธันเดอร์ส ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา
และแน่นอนว่าเมื่อมีระบบแบบนี้ขึ้น ทาง NBA ก็ต้องที่จะระมัดระวังไม่ให้เกิดการผูกขาด จึงทำให้ NBA จำเป็นที่จะต้องนำกฎ 2 ข้อเข้ามา เพื่อรักษาความเท่าเทียมระหว่างการแข่งขัน นั่นก็คือ กฎเพนดานค่าเหนื่อย โดยกฎข้อนี้จะเป็นการกำหนดจำนวนเงินสูงสุดที่แต่ละแฟรนไชส์สามารถใช้ได้ในการจ่ายค่าจ้างให้กับผู้เล่น ซึ่งกฏนี้นอกจากจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างทีมแต่ละทีมแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการบังคับให้แต่ละทีมจะต้องเลือกผู้เล่นที่ดี และ คุ้มค่าเงินที่สุด
ส่วนกฎที่ 2 ในการคุมแต่ละทีมนั่นก็คือ กฎที่เป็นมนต์เสน่ห์ของ NBA มาจนถึงทุกวันนี้อย่าง กฎการดราฟต์
ซึ่งฏกนี้จะเปิดโอกาสให้ทีมต่ำสุดของตารางได้มีสิทธิ์เลือผู้เล่นหน้าใหม่เข้าทีมก่อนใคร เพื่อที่จะได้นำผู้เล่นยอดฝีมือเหล่านั้น มาใช้ในฤดูกาลถัดไป
ซึ่งกฎทั้ง 2 ข้อนี้เองที่ทำให้คุณภาพลีกต่าง ๆ ของ NBA ต่างมีความแข็งแกร่งอย่างเท่าเทียมกันอยู่เสมอ และ มันยังช่วยทำให้ป้องกันทีมแฟรนไชส์ที่ยังไม่พร้อมในลีกได้อีกด้วย
ซึ่งการรักษามูลค่าทางการตลาดให้มั่นคงต่อไปได้แบบไม่สั่นคลอนนี้ มันจะส่งผลต่อไปทีบรรดาเหล่านายทุนทั้งหลายที่ต้องการจะเข้ามาลงทุนกับทีมต่าง ๆ ซึ่งเพราะการไม่มีตกชั้นนี้เองที่มันได้สร้างความมั่นใจว่า เงินทุกบาท ทุกสตางค์ ที่เหล่ายนายทุนลงไปจะต้องคุ้มค่า และเหล่านายทุนก็ไม่ต้องกลัวด้วยว่าทีมที่พวกเขาลงทุนไปจะไม่มีโอกาสเผยแพร่สู่สายตาคนนอก เนื่องจากทุกทีมได้เล่นลีก และ ได้รับการถ่ายทอดสดหมด แถมในด้านของกฎเพนดานค่าเหนื่อยนั้นมันยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่ลงทุนได้ว่า พวกเขามีลิมิตที่จะต้องจ่ายที่เท่าไหร่
แต่นั่นก็เหมือนเป็นดาบ 2 คนเองเช่นกัน เพราะว่าเมื่อทาง NBA ค่อนข้างที่โอกาส และ สิทธิขาดสำหรับเหล่านายทุนเจ้าของทีมมากเท่าไหร่ พวกนายทุนเหล่านั้นก็มีโอกาสที่ทำอะไรก็ได้กับทีมเหมือดังเช่นกรณีที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า หากทีม ๆ นั้นไม่สามารถทำรายได้ที่คุ้มทุนของนายทุน พวกเขาก็มีสิทธิที่จะย้ายเมืองได้ทันที โดยไม่ต้องแคร์เลยว่าบรรดาเหล่าแฟนเดนตายของเผาพริก เผาเกือบสาบแช่งพวกเขาขนาดไหน
ด้วยวัฒนธรรมแบบนี้นี่เองที่ทำให้บรรดาเหล่าแฟนบาสเองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเชียร์เมืองที่เขาอาศัยอยู่ตั้งแต่เกิดก็ได้เพราะว่าไม่รู้ว่า วันนี้เจ้าของทีมจะย้ายหนีไปตอนไหน มันเลยทำให้หลาย ๆ คนต่างก็เลือกเชียร์ทีมที่มีศักยภาพมากกว่าในลีก dunkswin9